ผลงานวิจัยเด่นของนักวิจัย ม. เกษตร “กากมันสำปะหลังโปรตีนสูง” ภาคเอกชนสนใจ ต่อยอดเชิงพาณิชย์

ผศ.ดร.พงศ์ธร คงมั่น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เจ้าของผลงานวิจัย“กากมันสำปะหลังโปรตีนสูง” ได้คิดค้นอาหารสัตว์เคียวเอื้อง โดยนำของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม มาเพิ่มมูลค่า คือ กากมันสำปะหลัง มาผสมกับ น้ำกากผงชูรส ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต และปรับปรุงให้มีความ

โดดเด่นทั้งระดับโปรตีน และระดับพลังงาน โดยสามารถเพิ่มระดับโปรตีนของกากมันสำปะหลังสูงขึ้น จาก 2.7 % เพิ่มขึ้นเป็น 3.0.1% ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนอนุสิทธิบัตรเลขที่ 11583 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2559

กากมันสำปะหลัง  มีข้อดี คือ มีระดับโปรตีนที่สูง และมีระดับพลังงานที่เหมาะกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง

มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ มีปริมาณเพียงพอผลิตได้ตลอดทั้งปี เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แหล่งวัตถุดิบอื่น เช่น

ใบมันสำปะหลัง และมีราคาถูกกว่า กากถั่วเหลือง เป็นต้น สามารถใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบโปรตีนอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องแหล่งใหม่ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

สำหรับกระบวนการผลิตนั้น มีขั้นตอนที่ง่ายใช้แรงงานในการผลิตน้อย นอกจากนี้ ในขั้นตอนของการผลิตสามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายกว่ากระบวนการหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ และใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่า สามารถประกอบสูตรอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ได้ทั้งชนิดอาหารอัดเม็ด และอาหารผง หรืออาหารผสมสำเร็จ (TMR) เหมาะสำหรับกิจการ โคนม โคเนื้อ แพะ และ แกะ เป็นต้น

อาหารอัดเม็ด และอาหารผง

ทั้งนี้ ผลงานวิจัย “กากมันสำปะหลังโปรตีนสูง” ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนขอนำสิทธิในผลงาน วิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยดังกล่าวกับ บริษัท เอฟ ดี กรีน (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ลพบุรี เอนเนอจี จำกัด เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 และ 18 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา นับเป็นความร่วมมือที่ดีในการนำนวัตกรรมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

กลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ สหกรณ์โคเนื้อ โคนม และผู้สนใจ “กากมันสำปะหลังโปรตีนสูง” ผลิตภัณฑ์งานวิจัยอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง สอบถามและขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.พงศ์ธร คงมั่น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 09 – 5952 – 3801 email: [email protected]