เผยแพร่ |
---|
ประเทศไทยเป็นเดสติเนชั่นหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่อยากจะเข้ามาสัมผัส ทั้งอาหารที่ขึ้นชื่อมากมาย และมีความหลากหลายทั้ง 4 ภูมิภาค รวมถึงสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว และวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ แต่บางส่วนยังขาดการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เมื่อเร็ว ๆ นี้ หอการค้าไทยได้จัดกิจกรรม “ชวนไทยไปเท่ กับไทยเท่ ทอล์ค” โดยเชิญผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ ที่เป็นต้นแบบมาจุดประกายความเป็นไทยเท่
“กลินท์ สารสิน” ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการจัดงานไทยเท่ ทอล์ค ได้กล่าวถึงแนวคิดของไทยเท่ว่า โครงการไทยเท่เกิดขึ้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่จะผลักดันประเทศและเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ คือเรื่องโครงสร้างเศรษฐกิจ เป็นการนำเอาวัฒนธรรมไทยที่มีอยู่มาผสมผสานกับเรื่องนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ และมีความเข้มแข็งขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างหอการค้าและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ขณะนี้โครงการไทยเท่มีเยอะ และแนวโน้มในปี 2561 จะเน้นการกระจายรายได้จากการส่งเสริม ที่ต้องดูในระดับท้องถิ่น พัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เฉพาะสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการค้าและบริการด้วย ซึ่งเขาทำอยู่แล้ว เพียงแต่เรามาช่วยหาตลาด เช่น สินค้าที่ระลึกรูปทศกัณฐ์จากแบรนด์โฮเล่น เป็นต้น
4.รางวัลชนะเลิศ หมวดช็อปจากภาคตะวันออก ได้แก่ สบู่ใบไม้และสบู่ก้อนหิน อุ่นหนาฝาคั่ง จ.ระยอง เป็นสบู่สมุนไพรไทยแท้จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ถูกออกแบบให้มีรูปลักษณ์เท่ ทันสมัย น่าใช้ ปัจจุบันได้รับการตอบรับจากต่างประเทศ ทั้งเยอรมนี อเมริกา และญี่ปุ่น และ 5.รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หมวดช็อป จากภาคเหนือ ได้แก่ ครกหูหิ้วศิลาทิพย์ จ.ตาก นำครกมาออกแบบและดัดแปลง ตอบโจทย์การใช้งาน ทั้งร่องเทน้ำออกจากครกและวางพักสากได้ขณะใช้งาน
ขณะที่รัฐมนตรีที่เป็นต้นแบบไทยเท่ทั้งกายและใจอย่าง “กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวเปิดทอล์กครั้งนี้ด้วยคำถามที่ว่า ถ้าเกิดชาติหน้า อยากเกิดมาเป็นคนชาติอะไร ถ้ายังตอบว่าอยากเกิดเป็นคนไทย
ดังนั้นต้องเริ่มจากสิ่งที่มี หันกลับไปมองในสิ่งที่เคยมองข้าม เพราะความเท่ต้องเริ่มที่ใจจึงจะเท่อย่างยั่งยืน ซึ่งเท่ไม่ได้หมายความว่ากรุงเทพฯคือประเทศไทย แต่ทุก ๆ ที่ที่อยู่ คือความเป็นตัวตน ทุกอย่างมีคุณค่า และทั้งหมดประกอบกันเป็นประเทศไทย โดยไทยเท่นั้นจะต้องประกอบด้วยใจและศรัทธา ยืนอยู่บนความเป็นจริง และเท่อย่างยั่งยืน ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 รวมถึงคิดถึงคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมว่าจะมีส่วนร่วมกันได้อย่างไร ให้เติบโตต่อไป
สำหรับ “ธัชญา จวงสันทัด” เจ้าของร้านกาแฟราย็อง จ.ระยอง กลุ่มคนรักษ์ถนนยมจินดา ถนนเศรษฐกิจสายหลักในอดีตของระยอง กล่าวว่า ได้ทำธุรกิจร้านกาแฟแบบลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง มาเช่าตึกเก่าซิโนโปรตุกีส บนถนนเศรษฐกิจเก่าที่ปัจจุบันไม่มีความคึกคักเหมือนที่เคยเป็นมา เป็นที่ขบขันของคนละแวกนั้นว่าจะรอดไหม พอมาลองผิดลองถูกเราก็ได้สูตรของเราเอง แล้วเริ่มตกแต่งร้านให้มีความเก๋ไก๋ขึ้น จนลูกค้าตอบรับมากขึ้นด้วยปากต่อปาก จากวันละ 300 คนจนวันนี้ไม่มีที่จะนั่ง คนเริ่มรู้จักย่านนี้มากขึ้น
ขณะเดียวกันต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้มากที่สุด และพยายามคิดเมนูใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกเบื่อ เช่น โรตีทุเรียน บิงซูทุเรียน และโรตีพิซซ่า เป็นต้น เมื่อประสบความสำเร็จก็เริ่มมีคู่แข่ง แต่เรามีความเชื่อว่าคู่แข่งเราคือตัวเอง เพราะถ้าเราไปแข่งกับคนอื่นมันจะไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในอนาคตวางแผนที่จะพลิกฟื้นถนนเศรษฐกิจเก่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และทำให้คนที่อยู่บริเวณนั้นเริ่มออกมาทำธุรกิจด้วย
ด้าน “กรกฎ เตติรานนท์” ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าถึงเรื่องราวของถนนคนเดิน “หลาดหน้าพระธาตุ” ว่า เกิดจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมา เป็นการรับงานจากทางจังหวัดมาดำเนินการ โดยร่วมกับกลุ่ม YEC จังหวัด เริ่มทำตลาดขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม และมีกำหนดให้สำเร็จภายใน 30 วัน โดยมีเงื่อนไขว่าไม่มีงบประมาณ มีเพียงสถานที่และวัฒนธรรมจากในพื้นที่เท่านั้น
หลังจากตกผลึกคำว่าวัฒนธรรมที่มีแล้ว จึงแบ่งหลาดหน้าพระธาตุออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ โซนอาหาร โซนหัตถกรรมและโอท็อป และโซนศิลปะ ซึ่งจัดบริเวณหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญ โดยจัดทุกเย็นวันเสาร์ จนปัจจุบันดำเนินการมาแล้วกว่า 16 ครั้ง ผลลัพธ์ออกมาน่ามหัศจรรย์มากจากความร่วมมือทุกฝ่าย ซึ่งมองว่าหัวใจของความสำเร็จมาจากความสุขที่เป็นเป้าหมาย และรักทุ่มเทกับวิถีตนเอง
ไทยเท่จะเป็นอีกหนึ่งทางช่วยประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน