RSPO มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน เกษตรกรชาวสวนปาล์มรู้ไว้ได้ประโยชน์

น้ำมันปาล์มได้จากการสกัดผลของต้นปาล์มน้ำมัน (Oil Palm) ซึ่งปาล์มน้ำมันหนึ่งผลจะมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ถึงร้อยละ 50 ปาล์มน้ำมันจึงเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูงน้ำมันปาล์มสามารถนำมา ใช้และแปรรูปได้หลากหลายทั้งในอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ น้ำมันพืช เนยมาการีนและในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตสบู่ ตัวทำละลายและเป็นสวนผสมในการผลิตไบโอดีเซล ปาล์มน้ำมันจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรใน ภูมิภาคเอเชีย, แอฟริกาและอเมริกาใต้ สร้างรายได้ให้คนกว่า 4.5 ล้านคนต่อปี

แม้ว่าปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก  แต่การขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็วทำให้ พื้นที่ป่าฝนเขตร้อนในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียถูกทำลายเป็นจำนวนมากส่ง ผลกระทบต่อสัตว์ป่า พันธุ์พืชและคุณภาพดิน โดยลิงอุรังอุตังในป่าฝนของอินโดนีเซียลดจำนวนลงจาก 31,500 ตัว เหลือเพียง 50,000 ตัวในระยะเวลาเพียง 12 ปี และจากการสำรวจโดยองค์กรอนุรักษ์ป่าไม้และพิทักษ์สัตว์ป่า ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียจะสูญเสียพื้นที่ป่าฝนเขตร้อนกว่าร้อยละ 98 ภายใน 15 ปี ถ้าไม่มีการควบคุมการแผ้วถางป่าเพื่อเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

จากปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF,World Wide Fund for Nature) บริษัท Aarhus United Uk Ltd., (ประเทศอังกฤษ) บริษัท Karlshamns AB (ประเทศสวีเดน) MalaysianPalmOilAssociation (MPOA) บริษัท Migros Genossenschafts Bund (สวิตเซอร์แลนด์) และ บริษัท Unilever NV (เนเธอร์แลนด์) จึงก่อตั้งองค์กรเพื่อการเจรจาสำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO, Roundtable on Sustainable Palm Oil) ขึ้นในปี 2004 โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าและการรุกรานพื้นที่ของคนใน ชนบทเพื่อรักษาผืนป่าและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มอย่าง ยั่งยืน จากการสำรวจเกษตรกรในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเพาะปลูกปาล์ม น้ำมันอย่างยั่งยืน RSPO พบว่าความรู้ที่ได้เช่น วิธีการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้เหมาะสมกับสภาพดินและการเพาะปลูกปาล์ม น้ำมันต้นใหม่แทนที่ต้นเก่าเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ สามารถลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรบางรายได้ถึงร้อยละ 50 เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความเสียหายจากกินเสื่อมคุณภาพและ พื้นที่เพาะปลูกที่ต้องเพิ่มหรือเคลื่อนย้ายบ่อย

 

ตราสัญลักษณ์ Green Palm Sustainability

เพื่อเป็นการสนับสนุน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) บริษัท Aarhus UnitedUK Ltd., หนึ่งในผู้ก่อตั้ง RSPO จึงให้เงินสนับสนุนบริษัท Book & Claim Limited ในการเป็นตัวแทนการซื้อขายระหว่างเกษตรกรผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและผู้ซื้อ ภายใต้ชื่อ Green Palm (www.greenpalm.org) โดยเงื่อนไขในการซื้อขายน้ำมันปาล์มผ่าน Green Palm และการได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสินค้า Green Palm Sustainability มีดังนี้ คือ

  1. ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการเพาะปลูกจาก RSPO
  2. การซื้อขายผ่าน Green Palm เป็นการซื้อขายผ่าน Certificate โดยน้ำมันปาล์มดิบปริมาณ 1 ตัน มีค่าเท่ากับ Certificate 1 ใบ
  3. ผู้ซื้อน้ำมันปาล์มดิบผ่านทาง Green Palm ต้องชำระเงินเพิ่มเป็นเงิน 2 เหรียญสหรัฐต่อน้ำมันปาล์มดิบหนึ่งตันสำหรับค่านายหน้า (Brokerage) และค่าบริจาคเพื่อสนับสนุนองค์กร RSPO โดยผู้ซื้อจะได้รับสิทธิ์ในการใช้ตราสินค้า Green Palm Sustainability กับสินค้าทุกชนิดที่ผลิตด้วยน้ำมันปาล์มที่ซื้อผ่าน Green Palm เป็นการตอบแทน

จากเงื่อนไขในการซื้อขายให้สิทธิ์ในการใช้ตราสินค้าดังกล่าวทำให้ทุกฝ่ายที่สนับสนุนได้รับประโยชน์ร่วมกัน คือ

1.เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างมีคุณภาพสามารถคัด เลือกพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูงบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกได้ และรู้จักวางแผนการเพาะปลูกต้นใหม่ทดแทนต้นเก่า ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพ

2.การบุกรุกพื้นที่ผ่าฝนเขตร้อนลดลงเนื่องจากเกษตรกรรู้จักการปลูกต้นใหม่ทดแทนต้นเก่าที่ให้ผลผลิตต่ำแทนการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก

3.RSPO เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร เงิน 1 เหรียญสหรัฐที่ได้ต่อการขายน้ำมันปาล์มดิบหนึ่งตันจะนำไปใช้สนับสนุน เกษตรกรและพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งต่อไป

4.ผู้ผลิตที่ได้รับตราสินค้า Green Palm Sustainable สามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้นเนื่องจากมีจุดขายในการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ และสนับสนุนอาชีพเกษตรกรและยังเป็นการรับประกันที่มาและคุณภาพของน้ำมัน ปาล์มที่ผู้ผลิตใช้อีกด้วย

การหันมาใช้น้ำมันปาล์มที่ได้มาตรฐาน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) หรือ Certified Palm Oil กลายเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ผลิตสินค้าที่มีน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบทำให้ ตราสินค้า RSPO และ Green Palm Sustainability เป็นที่สนใจแก่ผู้ผลิตในสายการผลิตมากขึ้นโดยเฉพาะในทวีปยุโรปและประเทศ สหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น บริษัท Unilever NV (เนเธอร์แลนด์) หนึ่งในบริษัทที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบมากที่สุดในโลกถึง 1.3 ล้านตันต่อไป มีโครงการที่จะเปลี่ยนมาใช้ Certificate Oil ในกระบวนการผลิตทั้งหมดภายในปี 2558 โดยร้อยละ 97 ของน้ำมันปาล์มที่ใช้มาจากการซื้อผ่าน Certificate ของ Green Palm โดยจะได้ตราสินค้า Green Palm Sustainability เพื่อเป็นการแสดงถึงความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

RSPO ได้กำหนดหลักการ (Principles) 8 ข้อ และเกณฑ์กำหนด (Criteria) 39 ข้อ เพื่อเป็นกรอบสำหรับการผลิตปาล์มที่ยั่งยืน โดยกรอบคลุมถึงการบริหารจัดการและดำเนินงานด้านกฎหมาย ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ ความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และความเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยหลักการดังกล่าว ได้แก่

  1. ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้
  2. การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
  3. การปฏิบัติตามแบบแผนในด้านเศรษฐกิจและการเงิน
  4. การใช้วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับผู้ปลูกน้ำมันปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
  5. ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
  6. ความรับผิดชอบต่อบุคลากรและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
  7. ความรับผิดชอบต่อการพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่
  8. การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมที่สำคัญ

ปัจจุบันประเทศที่ได้รับการรับรองเกณฑ์กำหนดและตัวชี้วัดตามกรอบ RSPO แล้ว ได้แก่ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ขณะที่ปาปัวนิวกินีอยู่ระหว่างการนำเสนอหลักการระดับชาติต่อ RSPO สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มต้นให้ความรู้แก่ผู้ประกอบโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มที่มีการตั้งกลุ่มกันผ่านโรงงานรับซื้อปาล์มสกัดน้ำมัน โดยได้จัดตั้งคณะทำงาน หลังจากตีความหลักการและเกณฑ์กำหนด ตามกรอบ RSPO (Generic P&C) และภาคเอกชนภายในประเทศก็ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในการขอใบรับรองว่าสินค้าของตนเป็นไปตามหลักการและเกณฑ์กำหนดของ RSPO โดยประเทศไทยได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ในประเภทกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยของโลกเป็นกลุ่มแรกในเดือน ตุลาคมพ.ศ. 2555 (ในประเทศอื่นเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ผ่านโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันขนาดใหญ่)

 

ประโยชน์ของหลักการและเกณฑ์กำหนด ตามกรอบ RSPO

– ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ทั้งการจัดการด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

– เพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำมันปาล์ม

– ปกป้องสิทธิพื้นฐานของเจ้าของที่ดิน คนงาน และคนในชุมชน

– สร้างโอกาสในการแข่งขันด้านการผลิต