ทช.ล้ำ เก็บปะการังสมอง-วงแหวน ส่องการสืบพันธุ์ ศึกษาพัฒนาตัวอ่อน

นายศุภวัตร กาญจน์อติเรกลาภ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ศูย์วิจัยฯ ได้ลงพื้นที่สำรวจความสมบูรณ์เพศของปะการัง บริเวณหาดหน้าบ้าน เกาะมันใน จ.ระยอง พบปะการังวงแหวน และปะการังสมอง มีความสมบูรณ์ของเซลล์สืบพันธุ์ จึงนำปะการังดังกล่าวขึ้นมาดูการปล่อยไข่และสเปิร์ม บนโรงเพาะพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศเกาะมันใน โดยปะการังวงแหวนและปะการังสมองมีการปล่อยไข่และสเปิร์มในช่วงเวลา 19.30 – 21.30 น. จึงทำการผสมพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศและศึกษาระยะการพัฒนาของตัวอ่อน

นายศุภวัตร กล่าวว่า ปะการังส่วนใหญ่ที่เป็นตัวๆ มากมายประกอบกันเป็นโคโลนีนั้น เมื่อโตเต็มที่แล้วก็จะปล่อยไข่หรือสเปิร์มของตัวมันออกมา บางชนิดในโคโลนีเดียวกันจะมีทั้งสองเพศคือ ปล่อย มาทั้งสเปิร์มและไข่ สเปิร์มและไข่ของปะการังเมื่อออกมาแล้ว จะผสมกันเป็นตัวอ่อน เรียกว่า พลานูลา (Planula) เป็นที่น่าสนใจว่าการผสมพันธุ์ของปะการังด้วย วิธีนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในทะเลสำหรับเมืองไทยอยู่ในระยะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งตัวอ่อนเหล่านี้จะขึ้นมาลอยอยู่ในน้ำทะเลเต็มไปหมด จนบางครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นกาเพิ่มจำนวนของแพลงตอน พืช ลูกปะการังตัวเล็กๆจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งเจอพื้นที่ๆ เหมาะสมจะลงเกาะกับวัตถุที่แข็ง เช่น ก้อนหิน หรือซากปะการัง จากนั้นปะการังก็จะเริ่มสร้างโครงสร้างแข็งที่เป็นหินปูนขึ้นมาเป็นโครงร่าง

ที่มา มติชนออนไลน์