ลุยโครงการไทยนิยม 2,074 แห่ง วงเงินกว่า 1.3 หมื่นล้าน ประชาชนได้ประโยชน์ 5.8 แสนครัวเรือน

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงผลการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนของกรมชลประทาน ภายหลังจากที่ได้ลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกรมชลประทาน เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนทั่วประเทศนั้น โดยลงพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยตามโรดแม็ป เริ่มจากเวทีที่ 1 “ปรับทุกข์ ผูกมิตร” ระหว่างวันที่ 21 ก.พ.-20 มี.ค. 2561 เพื่อสำรวจความต้องการและชี้แจงประชาชนรวมทั้งสิ้น 13,382 ครั้ง ประกอบด้วย 15,020 หมู่บ้าน 3,590 ตำบล 747 อำเภอ ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ มีแนวทางการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืนที่กรมชลประทานรับผิดชอบ 3 แนวทาง ได้แก่ คนไทยไม่ทิ้งกัน ชุมชนอยู่ดีมีสุข และรู้กลไกการบริหารราชการ

ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ กำหนดเมนูอาชีพรองรับแนวทางดังกล่าว ซึ่งในส่วนของกรมชลประทาน ประกอบด้วย 4 เมนู ได้แก่ การจ้างแรงงานสร้างรายได้ การส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ การพัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการพัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำชลประทานเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง รวมทั้งสิ้น 2,074 แห่ง วงเงิน 13,701.9850 ล้านบาท สำหรับประโยชน์จากโครงการที่จะได้รับคือ มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 17,900 ไร่ ความจุเก็บกักเพิ่มขึ้น 14.09 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีครัวเรือนรับประโยชน์ 586,594 ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2561 โครงการจ้างแรงงานสร้างรายได้ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน คนไทยไม่ทิ้งกันมีเป้าหมาย 76 จังหวัด จำนวน 172 แห่ง แรงงาน 7,520 คน งบประมาณ 187.5545 ล้านบาท มีเมนูที่ตรงกับความต้องการของประชาชน จำนวน 156 แห่ง งบประมาณ 170.41 ล้านบาท มีรายการที่ขอเพิ่มเติม จำนวน 138 แห่ง งบประมาณ 131.14 ล้านบาท เนื่องจากงบประมาณในการจ้างแรงงานไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของแรงงาน โดยได้เตรียมดำเนินการขึ้นบัญชีแรงงานเพื่อดำเนินการจ้างต่อไป

การส่งเสริมการใช้ยางพาราภาครัฐ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน ชุมชนอยู่ดีมีสุข โดยมีเป้าหมาย 53 จังหวัด จำนวน 317 แห่ง 239,501 ครัวเรือน ใช้ยางพารา 3,509.50 ตัน ระยะทางรวม 999.65 กิโลเมตร งบประมาณ 3,548.0209 ล้านบาท มีเมนูที่ตรงกับความต้องการของประชาชน จำนวน 306 แห่ง งบประมาณ 3,498.99 ล้านบาท มีรายการที่ขอเพิ่มจากแผน จำนวน 285 แห่ง งบประมาณ 3,251.31 ล้านบาท

การพัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อน รู้กลไกการบริหารราชการโดยมีเป้าหมาย 30 จังหวัด จำนวน 300 แห่ง พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 60 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 92,285 ไร่ 14,611 ครัวเรือน งบประมาณ 699.5056 ล้านบาท มีเมนูที่ตรงกับความต้องการของประชาชน จำนวน 156 แห่ง งบประมาณ 428.25 ล้านบาท มีรายการที่ขอเพิ่มเติม จำนวน 55 แห่ง งบประมาณ 519.18 ล้านบาท เพื่อเติมเต็มการวางระบบส่งน้ำ กระจายน้ำให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่

 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์