แก้มลิง…ในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร

           ในปี 2540 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างหนักในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อันเกิดจากพายุโซนร้อน (ซีต้า) ที่พัดเข้าโจมตีประเทศไทย จนประชาชนในจังหวัดชุมพรได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในครั้งนี้เป็นอย่างมาก จากปริมาณน้ำที่ท่วมเข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดชุมพรเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะด้านทิศตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือจรดภูเขาสูง เมื่อมีฝนตกที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อำเภอท่าแซะ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง น้ำไหลจากบริเวณดังกล่าวผ่านพื้นที่บริเวณตัวเมืองชุมพร ก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย จึงเป็นผลทำให้มีน้ำท่วมขังเป็นปริมาณมากในเขตตัวเมืองชุมพร

เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในชุมพร ทางจังหวัดชุมพรจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานวางแผนพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ เพื่อถวายเป็นราชสักการะเนื่องในโอกาสที่มีพระชนมพรรษาครบ 71 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2541

นายนภดล มีวิเศษ หัวหน้าวิศวกรรม โครงการชลประธานชุมพร เป็นผู้ให้ข้อมูล
นายนภดล มีวิเศษ หัวหน้าวิศวกรรม โครงการชลประธานชุมพร เป็นผู้ให้ข้อมูล

5 วิธี การแก้ไข

ต่อมาใน วันที่ 20 มิถุนายน 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ ตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รวมไปถึงโครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร ซึ่งในหลวงได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานไว้ด้วยกัน 5 ข้อ

โดย 5 ข้อนั้น ได้แก่

  1. อันดับแรกควรพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำปิดต้นคลองและปลายคลองที่ขุดในบริเวณหนองใหญ่เพื่อเก็บน้ำไว้ให้ราษฎรของท่านได้มีไว้ใช้เพื่อทำการเกษตรในฤดูแล้งได้ต่อไป
  2. ต้องจัดตั้งสถานีวัดระดับน้ำเพิ่มเติม พร้อมทั้งติดตั้งระบบเตือนภัยที่บริเวณต้นน้ำคลองท่าแซะ ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเร่งให้ระบายน้ำออกจากหนองใหญ่ลงคลองระบายน้ำออกจากหนองใหญ่ ลงสู่คลองระบายน้ำหัววัง-พนังตัก ทิ้งลงทะเลเป็นการล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้หนองใหญ่สามารถรองรับน้ำที่ไหลหลากลงมาใหม่ได้อีกเป็นจำนวนมาก โดยการรับน้ำหลากลงหนองใหญ่แล้วทยอยระบายทิ้งลงทะเล จะมีลักษณะที่คล้ายกับลิงอมกล้วยไว้ที่กระพุ้งแก้ม แล้วจึงค่อยๆ กลืนกล้วยลงสู่กระเพาะอาหารในที่สุด
  3. ต้องพิจารณาการขุดคลองหรือวางท่อเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแซะกับต้นคลองละมุ เพื่อชักน้ำจากคลองท่าแซะลงหนองใหญ่ให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีน้ำใช้เพื่อทำการเกษตร อุปโภค-บริโภค และในฤดูน้ำหลากสามารถช่วยผันน้ำบางส่วนจากคลองท่าแซะลงสู่แก้มลิง (หนองใหญ่) เพื่อระบายทิ้งลงทะเลผ่านทางคลองระบายน้ำหัววัง-พนังตัก ได้อีกด้วย
  4. ควรติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่บริเวณประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ 1, 2 และ 3 เพื่อช่วยสูบน้ำออกจากหนองใหญ่ลงคลองระบายน้ำหัววัง-พนังตักทิ้งลงทะเลในช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้สามารถลดปริมาณน้ำในคลองท่าตะเภาที่ไหลผ่านตัวเมืองชุมพรลงได้ในระดับหนึ่ง
    5. ควรศึกษาหาปริมาณน้ำท่าที่แน่นอนที่ไหลในคลองท่าตะเภา ณ บริเวณบ้านปากแพรก (ด้านท้ายคลองท่าแซะบรรจบกับคลองรับร่อ) ตำบลนากระตาม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดกับเมืองชุมพร และเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2542 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เกี่ยวกับโครงการแก้มลิงหนองใหญ่เพิ่มเติม โดยให้พิจารณาขุดคลองละมุให้เชื่อมคลองท่าแซะกับหนองใหญ่ เพื่อช่วยแบ่งน้ำส่วนหนึ่งจากคลองท่าแซะลงสู่หนองใหญ่ จากนั้นเมื่อระดับน้ำในคลองหัววัง-พนังตัก ลดระดับลง จึงค่อยๆ ปล่อยน้ำจากหนองใหญ่ระบายลงคลองหัววัง-พนังตัก และไหลลงสู่ทะเล
ch-5
สัญลักษณ์ของพื้นที่ โครงการแก้มลิง

ch-2

ทั้งนี้ ช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ชาวจังหวัดชุมพรจะจัดงาน “วันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ” และยังมีการจัดแข่งขันเรือยาว เพื่อขึ้นชิงธงชิงถ้วยพระราชทานที่อ่างเก็บน้ำหนองใหญ่ โดยในปีนี้ได้มีการจัดงานไปแล้ว ระหว่าง วันที่ 22-25 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา