สุดยอดนวัตกรรม “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง (Cassava) เป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ เนื่องจากมันสำปะหลังมีคุณสมบัติที่สามารถปลูกในเขตร้อน มีปริมาณฝนน้อย มีลักษณะการเติบโตรวดเร็ว และมีความทนทานต่อสภาวะดินต่างๆ ทำให้มันสำปะหลังเป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อผลิตอาหารและเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมหลายประเภท

ในประเทศไทย “มันสำปะหลัง” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยในปี 2560 ได้มีการส่งออกมากเป็นอันดับ 3 ของโลก1 สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศเฉลี่ย 1 แสนล้านบาทต่อปี ในปัจจุบันมันสำปะหลังเป็นพืชที่ต้องการในตลาดโลก เพราะมีการนำมาใช้ทดแทนในอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์และอาหารสัตว์ 2

มันสำปะหลังยังมีคุณสมบัติทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะมีความหลากหลายในการใช้ประโยชน์ นอกจากนำมาทำเป็นอาหารและเครื่องดื่ม มันสำปะหลังยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และอุตสาหกรรมพลาสติก นอกจากนี้ยังมีการนำมันสำปะหลังมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตไฟฟ้า ทำให้มันสำปะหลังเป็นที่นิยมในเรื่องพลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในฤดูการผลิตปี 2565/2566 มีการประเมินความต้องการในการใช้หัวมันสำปะหลังที่ผลิตในประเทศ คาดว่าจะมีปริมาณเกือบ 30 ล้านตัน ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศคาดว่าจะผลิตได้เพียง 23.7 ล้านตัน ซึ่งน้อยกว่าความต้องการถึง 6 ล้านตัน อีกทั้งสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เกิดภาวะภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกในช่วงที่ผ่านมาประสบปัญหาท่อนมันสำปะหลังแห้งตายต้องทำการไถทิ้งแล้วปลูกใหม่ ส่งผลให้ท่อนพันธุ์ขาดแคลน ทำให้ผู้ประกอบการกังวลต่อสถานการณ์สินค้าขาดแคลนในปี 25673

ทั้งนี้ ปริมาณผลผลิตในประเทศลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มีการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังก่อนครบอายุ (มันอ่อน) และการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง โรครากเน่าโคนเน่า โรคพุ่มแจ้ โรคระบาดในพืช เป็นผลทำให้ต้นทุนการผลิตที่ผันผวนสูง ล้วนกระทบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เกษตรกรต้องรับมือและบริหารจัดการทั้งการเตรียมแปลง การหาท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ สะอาด และทนทานต่อโรคใบด่าง

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงประมาณ 30% โดยเฉพาะการประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคใบด่างในมันสำปะหลังนั้นสร้างความเสียหายให้กับผลผลิต ทำให้ต้นทุนของเกษตรกรสูงขึ้นเพราะท่อนพันธุ์เสียหาย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพนั้น นอกจากการเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก การเตรียมดิน ให้น้ำใส่ปุ๋ย และการดูแลในเรื่องแมลงศัตรูพืชแล้ว การใช้นวัตกรรม “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” (Bio-Stimulant) ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ


นวัตกรรม“สารกระตุ้นทางชีวภาพ” (Bio-Stimulant) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยกระตุ้นการแตกราก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารต่างๆ ของมันสำปะหลัง จึงทำให้สะสมอาหารได้มาก หัวใหญ่และให้ผลผลิตมาก และยังช่วยต้านทานต่อความแห้งแล้งของอากาศ ลดความเครียดของพืชจากสภาวะแล้ง สภาวะหนาวจัดหรือสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ต่อสู้ได้กับทุกสภาวะอากาศ โดยมีส่วนประกอบจากธรรมชาติ และได้รับการรับรองให้ใช้ในแปลงเกษตรอินทรีย์

นางสาววรรณภร วัฒนาเกษมสัตย์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนทางธุรกิจ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า “ที่ผ่านมาเกษตรกรต้องประสบกับปัญหามากมายต่อการเพาะปลูก ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน น้ำท่วม ฝนไม่ตก ภัยแล้ง เกิดการระบาดของศัตรูพืช และโรคใบด่างของมันสำปะหลัง สิ่งเหล่านี้ที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตของมันสำปะหลังทั้งสิ้น เราได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำวิจัย การทดสอบ “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” (Bio-Stimulant) ซึ่งมีชื่อว่า อีสไบออน (Isabion) ช่วยเสริมให้พืชแข็งแรง เป็นเทคโนโลยีสูตรเฉพาะที่มีเปปไทด์พลัสสูงถึง 62.5% เป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี หากประสบปัญหาการปลูกพืชในสภาพอากาศร้อนจัด ซึ่งทำให้พืชมีความเสี่ยงที่จะเจอแมลงศัตรูพืชและโรคมากขึ้น ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จัดการการเพาะปลูกได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม”

“ทั้งนี้ บริษัทฯ มั่นใจว่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์ของซินเจนทา จะช่วยส่งเสริมการจัดการผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรไทยให้ดียิ่งขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น แข็งแรง ได้ราคาดี มีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ที่ว่า “นำศักยภาพของพืชสู่ชีวิต” นางสาววรรณภร กล่าวเสริม