เรื่องเล่าว่าด้วยข้าวของโลก ตอน ข้าวพม่า

ระหว่าง ปี 2503-2506 พม่า เป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสูงที่สุดในโลก โดยส่งออกปีละ 1.6-1.7 ล้านตัน ต่อปี พร้อมๆ กับที่เป็นประเทศผู้ส่งออกไม้สักรายใหญ่ของโลกด้วย

ปี 2505 นายพลเนวิน นำประเทศพม่าดิ่งจมลงในความถดถอย ล้าหลัง และยากจนกว่า 50 ปี อย่างน่าเศร้าใจ

พม่าหายไปจากเวทีการส่งออกข้าว ทั้งที่เป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และมีลุ่มน้ำกระจายเกือบทั่วประเทศ เป็นประเทศที่เหมาะสมยิ่งแล้วสำหรับการปลูกข้าวที่ต้องใช้น้ำมากกว่าการเพาะปลูกอื่นๆ

ตำแหน่งแชมป์ส่งออกข้าวของโลก เปลี่ยนมือจากพม่า มาอยู่ในมือประเทศไทยนับแต่นั้น และยาวนาน จนกาลเวลาก็กัดกร่อนให้ไทยถอยหลัง มีประเทศอื่นอย่างเวียดนามและจีนแซงหน้าไปอย่างสง่าผ่าเผยเมื่อไม่นานมานี้

3

บัดนี้เริ่มต้นยุคใหม่ของประชาธิปไตย ของการนำประเทศสู่ถนนที่ทอดยาวไปข้างหน้า แม้ว่าจะตามหลังเพื่อนบ้านไปไม่น้อย แต่คนพม่ารู้ซึ้งถึงความทุกข์ยากยาวนานจนยากจะท้อ

โลกเฝ้ารอการกลับมาอีกครั้งของพม่า ดินแดนอุดมข้าวปลา ไม้สัก และอัญมณี

แต่หลังจากกลับมาฟื้นคืนชีพใหม่ นาข้าวพม่าก็ยังไม่มากพอที่จะส่งออกเกรียงไกรอย่างทันใจ ปัจจุบัน พม่าผลิตข้าวได้ปีละ 25 ล้านตัน และเป็นประเทศที่ส่งออกข้าว อันดับ 6 ของโลก ต่อจากเวียดนาม

ซึ่งอันนี้นับว่าเก๋นะ เพราะพม่าน่ะไม่ได้พัฒนาอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมาเลยหลายสิบปี ยังสามารถเกาะอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ได้ นับว่าเก๋

พม่าปลูกข้าวราว 50 ล้านไร่ หรือกว่าครึ่งของพื้นที่เพาะปลูกที่มีทั้งหมด ผลผลิตข้าวเพิ่มจาก 18 ล้านตัน ใน ปี2538 มาเป็น 22 ล้านตัน ในปี 2553 และ 25 ล้านตัน ในปัจจุบัน คาดว่าจะใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าที่จะกลับไปเป็นเจ้าแห่งการผลิตและส่งออกข้าวเหมือนแต่ก่อนได้

แต่ก็มิได้ไกลเกินฝันหากยังเติบโตแบบนี้เรื่อยไป

6

ที่สำคัญพม่าไม่เคยลืมว่า ครั้งหนึ่งตัวเองเคยเป็นแชมป์โลก และไม่เคยหยุดคิดจะกลับมาทวงแชมป์คืน

หลังจากปิดประตูไม่ส่งออกข้าวมาเนิ่นนาน พม่าเริ่มส่งออกข้าวเมื่อสิบปีก่อน แต่ก็ส่งออกจิ๊บจ๊อยมาก มีจีนเป็นผู้ซื้อรายเดียว นอกจากนั้นจะส่งออกน้อยแล้วยังทำท่าร่อแร่มาโดยตลอด เพราะข้าวไม่พอบริโภคภายในประเทศ

การส่งออกข้าวของพม่าฮวบจาก 0.4 ล้านตัน ใน ปี 2538 มาเป็น 0.12 ล้านตัน ใน ปี 2553 ซ้ำยังเคยนำเข้าข้าวมาพักหนึ่งด้วยซ้ำ

มกราคม 2553 พม่าขยับปรับโครงสร้างการผลิตข้าวครั้งใหญ่ มีการก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมข้าว หรือ The Myanmar Rice Industry Association (MRIA) ขึ้น เพื่อให้เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมข้าวของประเทศ มีสมาชิกเป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้ส่งออก เพื่อส่งเสริมให้ข้าวของประเทศตนเองสามารถสู้กับคู่แข่งสำคัญในตลาดโลกอย่างไทยและเวียดนามได้

การสนับสนุนอย่างหนึ่งที่รัฐบาลพม่าพยายามทำ เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่อยู่ในภาวะยากจนอย่างหนักคือ สนับสนุนเงินกู้แก่ชาวนา แต่โครงการนี้ยังกระจุกในบางพื้นที่ หรือในเมืองใหญ่อย่าง มัณฑะเลย์

นอกจากนั้น รัฐบาลขอให้ธนาคารเอกชนสนับสนุนเงินกู้รายย่อยแก่ชาวนา เพื่อซื้อเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิตอื่นๆ

แม้จะมีอุปสรรคนานาประการ ทั้งต้นทุนที่สูงลิ่ว กระบวนการผลิตที่ยังล้าหลังกว่าคู่แข่งมาก การคมนาคมขนส่งที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่นับแต่ ปี 2554 เป็นต้นมา พม่าเริ่มส่งออก ระดับล้านตันขึ้น

ปีที่แล้วพม่าส่งออกข้าว 1.3 ล้านตัน และปีนี้ได้ 2 ล้านตัน ตามเป้าหมายของรัฐบาล ส่วนใหญ่ส่งไปจีน และมีบางส่วนไปถึงยุโรปแล้ว

To go with Myanmar-lifestyle-economy-rice, FEATURE by Jerome Taylor and Nan Tin Htwe In this picture taken on April 6, 2015, a worker carries a sack of rice past a stall selling the grain at a market in Yangon. For much of the early 20th century Myanmar was Asia's rice bowl, but after a nominally socialist junta seized power in 1962, decades of mismanagement shattered the agriculture industry in a nation where 70 percent of inhabitants still live in the countryside. The quasi-civilian reformist government, which took over from the military in 2011, is determined to resurrect the country's reputation as a rice producer. AFP PHOTO / SOE THAN WIN / AFP PHOTO / Soe Than WIN

 

รัฐบาลพม่าตั้งเป้าจะส่งออกข้าวให้ได้ 3 ล้านตัน ในปีหน้า และไปถึง 4 ล้านตัน ใน ปี 2563

ที่จริงการผลิตข้าวของพม่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี 2548-2553 มีการนำพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เข้ามาปลูกอย่างมากมาย แต่ด้วยยังขาดแคลนปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และการบำรุงดิน ผลผลิตต่อไร่จึงไม่สูงนัก ผลผลิตราว2.5 ตัน ต่อ 1 เฮกตาร์ (ประมาณ 6.25 ไร่) ขณะที่เวียดนามได้ถึง 5.6 ตัน ต่อเฮกตาร์ สูงที่สุดแล้วในกลุ่มผู้ส่งออก

ส่วนไทย ตัวเลขไม่ได้สวยกว่าพม่าเท่าไหร่นะบอกให้ ไม่เกิน 3 ตัน จนบัดนี้ อาศัยว่าปลูกในพื้นที่เยอะกว่าเขาเท่านั้นเอง

2

ข้าวของพม่ายังคุณภาพต่ำ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ การเกษตรยังด้อยพัฒนากว่าประเทศอื่นๆ เกษตรกรไม่มีความรู้ในการเกษตรสมัยใหม่ และขาดแคลนกำลังการผลิต ท่าย่างกุ้งซึ่งเป็นท่าเรือส่งออกข้าวของพม่าก็มีขนาดเล็ก และล้าสมัย ในช่วงมรสุมท่าเรือแทบจะใช้การไม่ได้ เพราะไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเหมือนท่าเรือใหญ่อื่นๆ  ต้นทุนส่งออกข้าวของพม่าจึงสูงกว่าประเทศอื่นๆ

หากแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ พม่าก็จะเดินหน้าไปในเวทีการค้าข้าวของโลกได้ ส่วนจะกลับไปส่งออกไปเป็นแชมป์เหมือนแต่ก่อนหรือไม่ ต้องรอฝีมือของรัฐบาลและภาคเอกชนของพม่า อย่าลืมว่าตอนนี้ระดับแชมป์ต้องส่งออกปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน แล้ว

ตอนนี้เสียงเรียกร้องสำคัญหนึ่งก็คือ ขอให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุนหรือร่วมทุน สร้างโกดังหรือทำธุรกิจส่งออกข้าว เพื่ออาศัยความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกเข้าไปพัฒนาวงการข้าวของพม่า

และขอให้ธนาคารขยายเวลาจ่ายคืนเงินกู้ระยะสั้นเพื่อธุรกิจ เป็น 12 เดือน เพื่อให้พ่อค้าข้าวได้มีแรงไว้สู้กับตลาดโลก

ทั้งนี้ เพื่อพิสูจน์ว่าแชมป์ที่หลับไปนานจะคืนสังเวียนได้หรือไม่