เลือกใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทอย่างไร ให้กิจการปัง

หากปัญหาเรื่องเอกสารทำให้ท่านปวดหัว รวมทั้งความเข้าใจในด้านการจดทะเบียนบริษัทยังไม่ชำนาญมากนัก การมองหาทางเลือกด้วยใช้ตัวช่วยจากสำนักงานบัญชีที่มีบริการรับทำบัญชี และรับจดทะเบียนบริษัทที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ท่านหมดปัญหาที่ได้พบเจอ บทความต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจถึงการจดทะเบียนบริษัท รวมถึงนักจัดการทำบัญชี ที่จะสามารถเสกงานของท่านให้อย่างเป็นระบบได้

หากต้องการเปิดบริษัทความเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

แน่นอนว่าก่อนที่ทำการเปิดบริษัทนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลในการทำงาน ระบบต่างๆที่เกี่ยวกับการเงิน การทำบัญชี ที่ต้องมีระบบการจัดการเอกสารที่มีคุณภาพ ทั้งยังสร้างระบบการทำงานเก็บเอกสารต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง บางท่านจึงได้มองหาบริการจากสำนักงานบัญชีที่มีการช่วยรับทำบัญชี พร้อมด้วยรับจดทะเบียนบริษัทที่ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานกับหน่วยงานราชการอีกด้วย

การศึกษาข้อมูลในการเปิดบริษัทมีอะไรบ้าง

เพื่อให้ท่านสามารถมองเห็นภาพรวมต่างๆ ของการทำงานอย่างเป็นระบบของการจดทะเบียนบริษัท จนไปสู่กระบวนการทำบัญชี ช่องทางการทำเอกสารการเงินต่างๆ มีด้วยกันดังต่อไปนี้

ธุรกิจของท่านเป็นแบบไหน 

ท่านควรกำหนดลักษณะประเภทของบริษัทที่ท่านต้องการจดทะเบียน ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. กิจการบุคคลธรรมดา มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวในการบริหาร
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล , ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  4. บริษัทจำกัด , บริษัทจำกัดมหาชน
  5. นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงาน โดยมีสาขาภายในประเทศไทย

โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลกิจการที่จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนทางการค้า หรือพาณิชย์ รวมถึงข้อยกเว้นที่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนได้ ซึ่งได้แก่ กิจการการค้าขายแผงลอย , กิจการที่ทำเพื่อการกุศล / การบำรุงศาสนา , กิจการของกระทรวง ทบวง กรม, กิจการของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ รวมทั้งกิจการของกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น

ขั้นตอนในการจดทะเบียนบริษัท

หากในขั้นตอนนี้จะเป็นเอกสารที่ต้องเตรียมพร้อมในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆมากมาย ที่มีความละเอียดอ่อนต่อการดำเนินเอกสาร จึงอาจจะเป็นส่วนที่มีความยุ่งยาก ทั้งปวดหัวพอสมควร หากท่านไม่เคยมีประสบการณ์ด้วยการจดทะเบียนบริษัทมาก่อน ในส่วนนี้เองที่ท่านสามารถขอความช่วยเหลือในการดำเนินเอกสารที่ต้องจดทะเบียนจากสำนักงานบัญชีที่มีบริการรับจดทะเบียนบริษัทที่น่าเชื่อถือ ตามความต้องการของท่านในการรวบรวมเอกสารได้เช่นเดียวกัน

พร้อมทั้งยังต้องดำเนินเอกสารของท่านในกรณีต้องการจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป หรือต้องการจดทะเบียนบริษัทการค้าในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือประเภทอื่นๆ ที่จะใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • การจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป (บุคคลธรรมดา) เอกสารที่ต้องใช้จะมีด้วยกัน คือ เอกสารในการยื่นแบบ ทพ. , เอกสารสำเนาบัตรประชาชน , เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน , แผนที่แสดงสถานที่ประกอบกิจการของผู้ขอยื่นการจดทะเบียน , เอกสารหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) เป็นต้น
  • การจดทะเบียนพาณิชย์ที่ออกให้สำหรับนิติบุคคล โดยจะประกอบด้วยจำนวนผู้เข้าลงทุน ทั้งยังสำรวจจุดประสงค์ในการทำกิจการ พร้อมทั้งระบุหน้าที่ภาระความรับผิดชอบในรับชำระหนี้สินอีกด้วย ซึ่งจะสามารถแยกประเภทได้ดังนี้
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ประกอบด้วยผู้ลงทุนในหุ้น 2 คนขึ้นไป ซึ่งผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจในการจัดการกับกิจการ การจัดการบริหารในการจัดส่วนแบ่งกำไร ทั้งยังมีหน้าที่ในการรับชำระหนี้สินของบริษัทอย่างไม่จำกัด โดยจะขึ้นอยู่กับการจดทะเบียนในการเป็นนิติบุคคลหรือไม่นั้นเอง

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ประกอบด้วยผู้ลงทุนในหุ้น 2 คนขึ้นไป ทั้งยังมีการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแบ่งหน้าที่ความรับผิดเป็น 2 ประเภทได้แก่

  1. การรับผิดในการรับชำระหนี้แบบจำกัด คือจะเป็นหุ้นส่วนที่ไม่สามารถเข้ามาจัดการการดำเนินงานภายกิจการได้ พร้อมทั้งจะรับผิดชอบในการชำระหนี้สินของกิจการจากทุนทรัพย์ที่ตนได้มีการลงทุนเท่านั้น
  2. การรับผิดในการรับชำระหนี้แบบไม่จำกัด คือเป็นผู้ถือหุ้นที่มีทั้งสิทธิในการดำเนินกิจการทั้งหมดของบริษัท แต่ก็มีความรับผิดชอบในการรับชำระหนี้สินของบริษัทอย่างเต็มจำนวนเช่นกัน
  • บริษัทจำกัด

ซึ่งจะประกอบด้วยผู้ลงทุนในหุ้นส่วนจำนวน 3 คนขึ้นไป โดยมีความต้องการในการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งยังมีหน้าที่ในความรับผิดจากการชำระหนี้ตามที่ตนเองลงทุนในหุ้นส่วนอย่างจำกัดเท่านั้น จึงเป็นที่นิยมในการจดทะเบียนบริษัทมากกว่าห้างหุ้นส่วนนั้นเอง

จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนบริษัทจะเป็นที่นิยมส่วนใหญ่ของผู้ทำธุรกิจ / ผู้ประกอบการ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่ต้องการลงทุนด้วย ทั้งยังมีความน่าเชื่อถือต่อธนาคาร ที่จะสามารถทำการตรวจสอบข้อมูลระบบบการเงินของการจดทะเบียนบริษัทได้อีกด้วย

การยื่นเอกสารในการจัดตั้ง พร้อมการลงทะเบียน

ในกรณีต้องการจดทะเบียนการค้า สถานที่ในใช้ในการจดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • ในเขตกรุงเทพมหานคร ท่านสามารถเข้ายื่นเอกสารได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานการคลัง กรุงเทพมหานคร รวมทั้งฝ่ายปกครอง และสำนักงานเขตทุกแห่งในท้องที่ของเขตนั้น
  • ในส่วนของภูมิภาค ท่านสามารถยื่นได้ที่เทศบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล หรือการปกครองพิเศษเมืองพัทยา

ในกรณีต้องการจดทะเบียนบริษัท ท่านสามารถดำเนินการจดทะเบียนโดยการยื่นเอกสารที่จัดเตรียมทาได้ที่

  • สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าของแต่ละเขตในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าของแต่ละจังหวัด
  • หากสำนักงานของท่านอยู่ต่างจังหวัด ท่านสามารถขอยื่นเอกสารออนไลน์ผ่านช่องทาง dbd.go.th ได้ช่องทางหนึ่ง

ซึ่งการยื่นเอกสารในการขอจดทะเบียนบริษัทจะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการจดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา ด้วยมีกระบวนการดังต่อไปนี้

  1. การยื่นเอกสารตรวจสอบพร้อมจองชื่อบริษัทที่ต้องการจัดตั้ง โดยต้องเข้าตรวจสอบจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจากการสมัครสมาชิกในระบบของเว็บไซต์ เพื่อทำการจองชื่อ ทั้งตรวจสอบทะเบียนคำขอนิติบุคคล
  2. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ เป็นหนังสือที่แสดงถึงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท สามารถยื่นเอกสารความประสงค์ไม่เกิน 30 วันนับจากที่นายทะเบียนได้ทำการรับรองชื่อ

พร้อมทั้งการจัดเตรียมเอกสารตามที่รายละเอียดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนด ดังเช่น

  • ชื่อบริษัทที่ได้ใช้ในการจองชื่อจัดตั้งบริษัท
  • แหล่งที่ตั้งของสํานักงานสาขาใหญ่ / สาขาย่อย
  • วัตถุประสงค์ของบริษัท
  • จำนวนทุนทรัพย์ที่จดทะเบียน และยอดจํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว ด้วยยอดอย่างน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
  • เอกสารชื่อที่อยู่ของพยานอย่างน้อย 2 คน
  • รายชื่อกรรมการ เป็นต้น
  1. ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทในลำดับถัดไปต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อนายทะเบียนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เอกสารสำหรับแบบจองชื่อนิติบุคคล , เอกสารสําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อตั้งกิจการ และกรรมการทุกคนที่มีส่วนร่วมในการก่อตั้ง , สําเนาเอกสารหลักฐานการรับชําระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น และแผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงานพอสังเขป เป็นต้น

 

เมื่อการจดทะเบียนบริษัทได้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ท่านต้องคำนึงในลำดับถัดมาคือการทำเอกสารทางด้านการเงินที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ ทั้งเป็นภาระงานตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละเดือน โดยจะต้องมีการจัดการดังนี้

  • การจัดการทำบัญชีจากผู้ทำบัญชี
  • การจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชี
  • การปิดงบการเงิน
  • การจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นส่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • การยื่นภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เช่น ยื่นแบบ ภงด.1 , ยื่นแบบ ภงด.3 , ยื่นแบบ ภงด.53 , ยื่นแบบ ภงด.54 เป็นต้น
  • การยื่นประกันสังคมอีกด้วย

รวมทั้งภาระงานการเงิน การบัญชีแบบรายปีที่ต้องจัดการตามที่กฎหมายกำหนดได้แก่  เอกสารการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลช่วงครึ่งปีแรกของปีปฏิทิน , ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลช่วงสิ้นปีปฏิทินของปีนั้นๆ และการจัดเตรียมเอกสารในการยื่นส่งงบการเงิน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

ประโยชน์ของการเข้าบริการสำนักงานบัญชีที่ครอบคลุมทุกบริการ

จะเห็นได้ว่าเอกสารที่ท่านต้องจัดเตรียมอย่างเป็นระบบนั้น ต้องใช้ความชำนาญในการจัดทำอย่างรอบคอบ จะเห็นได้ว่าหากท่านมีที่ปรึกษาในการจัดเตรียมเอกสาร ทั้งการให้คำแนะนำเรื่องการเงิน การทำบัญชีจากสำนักงานบัญชี ที่เปิดรับทำบัญชี ทั้งเปิดรับจดทะเบียนบริษัท จะช่วยให้ท่านสามารถผ่านช่วงเวลาเหล่าไปได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

  • สามารถช่วยให้มีเวลาในดำเนินงานทางด้านธุรกิจได้มายิ่งขึ้น
  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางในการดำเนินเอกสารเอง หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสำนักงานที่ตั้งกิจกรรมที่ต้องการจดทะเบียน
  • ลดปัญหาข้อผิดพลาดจากการดำเนินเอกสารเอง ที่อาจจะส่งผลให้ท่านเกิดความเครียดต่อการทำงาน อาจจส่งผลให้ป่วยได้
  • หากมีที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ จะสามารถช่วยให้คำแนะนำในการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของตนเอง ทั้งยังช่วยชี้แนะการทำงานให้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นจากประสบการณ์ของผู้ทำงานเอกสาร การบัญชีนั้นเอง

สรุป

จะเห็นได้ว่าการดำเนินทางด้านเอกสาร การเงิน และการบัญชี หากไม่มีความชำนาญมักจะมีข้อผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ทั้งยังต้องรู้ถึงข้อห้าม / ข้อยกเว้นในการจัดทำเอกสารอีกด้วย การเข้าใช้บริการจากสำนักงานบัญชีที่เปิดรับทำบัญชี และรับจดทะเบียนบริษัทที่ดี จะช่วยให้ท่านได้วางใจกับการจัดทำเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้นเอง