โควิด-19 เร่งในเกษตรกรใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

การระบาดของโรคโควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อแรงงานวัยหนุ่มสาวที่มีความรู้ ความสามารถเข้าถึงองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ต และมีทักษะด้านดิจิตอลมุ่งสู่ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ปัจจัยนี้อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านต่อรุ่น ไปสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยมากขึ้น
#เกษตรไทย #โควิด19 #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

วิกฤติโรคโควิดครั้งนี้ อาจเป็นโอกาสเติบโตของภาคเกษตรไทย คือการที่แรงงานรุ่นใหม่จำนวนมากเดินทางกลับบ้าน จากเดิมทิ้งบ้านไปหางานต่างถิ่นปล่อยคนเฒ่าคนแก่ทำการเกษตรตามยถากรรม จึงกลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญของรัฐบาล ในการดำเนินนโยบายจูงใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่เดินหน้าทำการเกษตร ลดการกระจุกตัวของที่ดิน ขยายโครงข่ายแหล่งน้ำ รวมถึงหนุนเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเกษตร และพัฒนาทักษะทางธุรกิจและดิจิตอลให้เกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้รายได้จากภาคเกษตรจะกลับมามีบทบาทในฐานะ “รายได้หลัก” ของครัวเรือนอีกครั้ง

แม้ปัจจุบันโรคโควิดในประเทศไทยถือว่าคลี่คลายลงแล้ว แต่มีหลายภาคธุรกิจที่บาดเจ็บหนักที่สุด เช่น ภาคโรงแรม การท่องเที่ยว และบริการ รวมถึงเหล่าธุรกิจที่ต้องบริโภคแบบแนบชิดสนิทเนื้ออย่างสถานบันเทิง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ และงานคอนเสิร์ตต่างๆ อุตสาหกรรมเหล่านี้คือเครื่องยนต์ขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโตวันโตคืน

ขณะที่ภาคเกษตรยิ่งนานวัน ยิ่งลดน้อยด้อยความสำคัญ จากงานวิจัยภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย ล่าสุดคิดเป็นสัดส่วนเพียง 8% ของ จีดีพี ไทย เนื่องจากเกษตรกรทุกวันนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งต้องพึ่งพารายได้นอกภาคการเกษตร คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ของรายได้ทั้งหมด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ภาคเกษตร เครื่องจักรสำคัญพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

จากงานวิจัยภูมิทัศน์ภาคเกษตรไทย จะพลิกโฉมภาคเกษตรไทยอย่างไร สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน? ในครั้งล่าสุดได้นำเสนอว่าต้นทุนในภาคการเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อกำไรที่ลดลงจนการปลูกสินค้าเกษตรหลายชนิดกลับยิ่งทำยิ่งจน อีกทั้งหนี้สินครัวเรือนยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่เกษตรกรอายุ 85 ปี ยังมีมูลหนี้เฉลี่ยสูงถึงหลักแสนบาท จึงไม่น่าแปลกใจที่แรงงานในภาคเกษตรมีแนวโน้มแก่ชราลง เพราะคนรุ่นใหม่ต่างหันหน้าไปหาอาชีพอื่น

โดยปี 2561 เกษตรกรไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 46% โดยอายุเฉลี่ยของหัวหน้าครอบครัวในภาคการเกษตรสูงถึง 58 ปี ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคเกษตรไทยอยู่ในช่วงขาลงอย่างเต็มขั้นอย่างไรก็ตาม วิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้หลายอุตสาหกรรมทรุดหนัก อาจเป็นโอกาสสำคัญที่ภาคการเกษตรจะกลายเป็นกลจักรสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจและเกษตรกรไทยที่รัฐต้องเร่งปลดล็อกหลายอย่าง ไม่ว่าต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าสินค้าตกต่ำ และต้องเร่งหามาตรฐานช่วยเหลือ เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่นำความคิดมาต่อยอดการทำเกษตรจากรุ่นเก่า ซึ่งการระบาดของโรคโควิด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อแรงงานวัยหนุ่มสาวที่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ต และมีทักษะด้านดิจิตอล ต่างเดินทางกลับบ้านเกิดหลังจากเมืองใหญ่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตอีกต่อไป

 

7 นวัตกรรมการเกษตร เสริมศักยภาพภาคเกษตรไทย

โควิด-19 ส่งกระทบไปในวงกว้างทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีการเลิกจ้างจากการปิดกิจการมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้ต้องกลับมาตุภูมิ “การเกษตร” จึงเป็นเป้าหมายทางเลือกแรกของหลายๆ คน ที่จะใช้ดินแดนสุวรรณภูมิอย่างประเทศไทย ที่มีทรัพย์อยู่ในดิน สินอยู่ในน้ำ ที่เปรียบเหมือนแหล่งผลิตทองคำล้ำค่า ที่สำคัญที่กลุ่มคนเหล่านี้ที่สามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริหารจัดการ ที่จะผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์มาปรับใช้ กับการสร้างธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทยให้สอดคล้องกับทิศทางกับกระแสของทั่วโลก และนำมาปรับให้เหมาะสมกับประเทศไทย

ซึ่งสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ให้คำแนะนำว่า มี 7 นวัตกรรมการเกษตร ที่จะเร่งพัฒนายกระดับเกษตรกรดั้งเดิม ในการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส การสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการเกษตรของไทย ประกอบด้วย

  1. เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เป็นการนำความหลากหลายทางชีวภาพมาประยุกต์ให้เกิดธุรกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการอาหารปลอดภัย ประสิทธิภาพการผลิต และการลดต้นทุน
  2. เกษตรดิจิทัล เป็นเทรนด์ใหญ่ที่ทั่วโลกต้องการ เพื่อช่วยสนับสนุนการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เซ็นเซอร์เก็บข้อมูลระดับน้ำที่แปลงนาข้าว โดยเกษตรกรสามารถดูข้อมูลจากที่บ้านได้ผ่านมือถือ เมื่อมีข้อมูลมากเพียงพอก็สามารถทำนายสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น
  3. การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ จากเดิมที่คุ้นเคยทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประมงแบบฟาร์ม ที่มีปัจจัยมากมายยากที่จะควบคุม ทำให้การปลูกพืชแนวตั้งหรือโรงงานปลูกพืชที่มีขนาดใหญ่ เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุน เป็นแนวโน้มที่เริ่มเห็นในทั่วโลก
  4. เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ แม้ว่าตอนนี้จะมีแรงงานกลับถิ่นฐานและมีคนสนใจทำเกษตรกรรมมากขึ้น แต่ต้องมีแนวทางในการดึงดูดให้คนหันมาทำการเกษตร ด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดแรงงาน สามารถทำการเกษตรได้เหมือนเกมส์ปลูกผักโดยมีระบบต่างๆ ช่วยสนับสนุน
  5. บริการทางธุรกิจเกษตร ในช่วงออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญของชีวิตประจำวันที่ผู้บริโภคเปลี่ยนไปหลังโควิด จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งตลาดอีคอมเมิร์ซและระบบขนส่งอัตโนมัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และช่วยในการส่งสินค้าอาหาร–เกษตรแบบเร่งด่วน
  6. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมาก เนื่องจากสินค้าเกษตรเมืองร้อนของไทยมีผิวเปลือกบาง ทำให้ง่ายต่อการเน่าเสียและเก็บรักษายาก ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งสร้างสำหรับธุรกิจนี้ ได้แก่ การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุและเก็บรักษาความสด โดยที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  7. ธุรกิจ “ไบโอรีไฟนารี” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรที่มีโอกาสเติบโตและหลายภาคส่วนให้ความสนใจ โดยเป็นการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งจากการเกษตร ด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้จุลินทรีย์ แบคทีเรีย ยีสต์ เอ็นไซม์ หรืออื่นๆ ให้ทำหน้าที่เสมือนโรงงาน (cell factory) ให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

แนวทางเหล่านี้จะเป็นเข็มทิศตอบโจทย์กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่วงการเกษตร และต้องการยกระดับการเกษตรของไทยไปพร้อมกัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีแก้ไขปัญหาในแนวคิดเกิดรูปแบบทำเกษตรแนวทางใหม่

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://thaipublica.org/

https://www.nia.or.th/

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 

‘สวนทุเรียนลุงแกละ’ การปรับใช้ Agritech ลดต้นทุน ลดเวลา เพิ่มมูลค่าผลผลิต

‘ไร่ลุงท็อป’ จากเด็กหัวการตลาดผงาดสู่ธุรกิจร้อยล้าน

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
คลิกหรือสายด่วน1333