เปิดกลยุทธ์ ‘ปศุสัตว์ฝ่าวิกฤต’ ก้าวทันโลก

ภาคเกษตรโดยเฉพาะในกลุ่มปศุสัตว์เป็นส่วนสำคัญในการเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก แต่ถึงกระนั้นการทำปศุสัตว์ในปัจจุบันยังมีจุดบอดที่ควรได้รับการพัฒนา นั่นคือการยกระดับคุณภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของบริบทการค้าสมัยใหม่ และพฤติกรรมผู้บริโภค

จากกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากเครือเบทาโกร กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารชั้นแนวหน้าของเมืองไทย ในการนำธุรกิจปศุสัตว์ก้าวผ่านสู่ยุคสมัยใหม่ด้วยยุทธศาสตร์ 3 S แนวคิดการขับเคลื่อนปศุสัตว์ยุคใหม่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

คุณไตรรัตน์ ทองปลอด ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม เครือเบทาโกร กล่าวว่า ธุรกิจภาคการเกษตรและปศุสัตว์ดูเหมือนจะไปได้ดีที่สุดในช่วงวิกฤติโควิด 19 เนื่องจากทั่วโลกกำลังเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยจะผลิตอาหารป้อนตลาดโลก

แต่การทำการเกษตรและปศุสัตว์สมัยใหม่ จะต้องฉีกแนวจากดั้งเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุน ขณะเดียวกันจะต้องปรับตัวครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกและความอยู่รอด ซึ่งโมเดลที่เครือเบทาโกรนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ คือ ยุทธศาสตร์ 3 S  ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จของเครือเบทาโกร ประกอบด้วย

 Sustainable Business Partner : การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ มุ่งสู่ความยั่งยืนควบคู่เกษตรกร แม้ว่าเครือเบทาโกรสามารถยืนหยัดอยู่ด้วยตนเองไปได้ แต่การดำเนินธุรกิจให้มั่นคงตลอดการ ต้องไม่ทอดทิ้งพันธมิตรคู่ค้าและเกษตรกรที่พร้อมให้การสนับสนุนทุกด้าน ไม่ว่าด้านการลงทุนและเทคโนโลยีทันสมัยนำไปใช้กับภาคการเกษตร

– Success Livestock Economic : ในเครือเบทาโกรทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตปศุสัตว์อย่างเดียว เพื่อส่งสินค้าป้อนให้ Food Business ซึ่งบทบาทของ LIVESTOCK คือ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ทั้งพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และปลา โดยผลผลิตทั้งหมดจะส่งจำหน่ายให้กับทางฝั่ง Food Business โดยส่วนใหญ่เป็นหมู ไก่ ไข่ไก่ ปลา ที่แปรรูปแล้ว ซึ่งแผนกนี้จะส่งจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดังนั้น LIVESTOCK เปรียบเสมือนเป็นฐานการผลิตสำคัญในการส่งสินค้าป้อนให้กับ Food Business เพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตยั่งยืนควบคู่กับเครือเบทาโกร

 Smart Normal Farm : ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรควิดและการเปลี่ยนแปลงของโรคทั่วไป ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและปศุสัตว์ กลายเป็นตัวเร่งให้เกษตรกรต้องปรับตัวสู่ Smart Farm เน้นทำเกษตรและปศุสัตว์สมัยใหม่

โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทในการดูแลฟาร์มแทนมนุษย์ เนื่องจากที่ผ่านปศุสัตว์ได้รับความเสียหายหนักล้วนจากมนุษย์เป็นพาหานะนำไปสู่สัตว์เลี้ยง เช่น ยุโรป จีน หรือประเทศเพื่อนบ้าน ฟาร์มหมูได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาก็มาจากมนุษย์ทั้งสิ้น แต่ไทยโชคดีที่ยังสามารถสกัดโรคดังกล่าวได้ แต่ยังต้องเผชิญกับอีกหลายโรคคุกคามฟาร์มหมู เช่น โรคพีอีดี และเอฟเอ็มดี เป็นต้น

อย่างไรก็ตามเมื่อเกษตรกรไทยปรับตัวเข้าสู่โหมดสมาร์ท ฟาร์ม ด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และควบคุมในการทำฟาร์มแทนมนุษย์ จะส่งผลดีต่อภาคเกษตรและปศุสัตว์ได้อย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่จะสามารถป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาแพร่สู่หมูได้แล้ว ส่วนโรคอื่นๆ ที่จะเข้าไปเยี่ยงกรายคงไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นเทคโนโลยีจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดภาคการเกษตรและปศุสัตว์ไทยทั้งในยุค New Normal และ Next Normal

5เข้ามามีบทบาทเกษตรไทยในอนาคต

ในอนาคตการทำฟาร์มสมัยใหม่ สิ่งที่ต้องปรับตัวให้เร็วที่สุด คือการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์มปลอดภัยจากโรคต่างๆ โดยเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบาทบาทสำคัญ คือเทคโนโลยี 5G ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนประสบความสำเร็จสูงสุดในการนำเทคโนโลยี 5G มาบริหารจัดการในรูปแบบ Smart Farming ที่ไม่เพียงป้องกันโรคระบาดได้เป็นอย่างยอดเยี่ยม แล้วยังเพิ่มผลผลิตตามความต้องการได้

เนื่องจากการทำ Smart Farming ทั้งหมด สามารถควบคุมด้วยเทคโนโลยี 5G ทำให้ไม่ต้องใช้แรงงานคนในฟาร์ม เน้นการเลี้ยงระบบปิดที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากโรคภัยต่างๆ ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามนุษย์เป็นพาหนะนำไปแพร่สู่ปศุสัตว์

ดังนั้นเมื่อฟาร์มสมัยใหม่ที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยี 5G จะตัดขาดไม่ให้มนุษย์เข้าไปข้างสามารถควบคุมโรคต่างๆ ไม่เกิดการแพร่ระบาดสู่ปศุสัตว์ได้ 100% อีกทั้งยังทำให้สัตว์เลี้ยงเจริญเติบโตสมบูรณ์ตามความต้องการ สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้จึงประเมินว่าเทคโนโลยี 5G จะมีบทบาทสำคัญต่อการทำฟาร์มสมัยใหม่ เนื่องจากสามารถป้องกันโรคแพร่ระบาด แต่ต้องนำมาประยุกต์ใช้คู่กับความรู้เฉพาะตัวและทักษะของแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้การทำฟาร์มปศุสัตว์เกิดความยั่งยืน ขณะเดียวกันเกษตรกรยังต้องแสวงหาความร่วมมือในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำองค์ความรู้ ความชำนาญการจากกูรู มาบริหารจัดการความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจให้เดินหน้าเติบโตยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ปศุสัตว์ศตวรรษที่ 21 ต้องรู้ทันสถานการณ์โลก

ในมุมมองธุรกิจการเกษตร (ปศุสัตว์) ของคุณฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สะท้อนความคิดเห็นว่า การที่เรารู้เท่าทันสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถือว่าเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งทำให้สามารถทำธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเตรียมตัวและเตรียมใจในการปรับปรุงกลยุทธ์ ตลอดทั้งมาตรการต่างๆ ในการทำการเกษตรและการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปศุสัตว์ต่อไป

ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและแนวโน้มต่างๆ นอกจากเรื่องปศุสัตว์แล้วก็เรื่องอื่นๆ มีการผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจภาคการเกษตร (ปศุสัตว์) การผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและได้รับผลกระทบจากเรื่องต่างๆ หลายเรื่อง โดย 1 ในนั้นคือการแพร่ระบาดของโควิดส่งผลกระทบอย่างชัดเจน

นอกจากนั้นยังจะมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้วันนี้ถ้าไม่รู้เท่าทันเกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำให้ตกยุคสมัยไม่สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจ การผลิต ไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้บริโภคมาสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ การระบาดของโรคต่างๆ เป็นเรื่องที่สำคัญ ภัยพิบัติธรรมชาติก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนต้องจับตามมอง เพราะภัยพิบัติทุกวันนี้ทวีความรุนแรงมากกว่าสมัยก่อน จึงต้องเตรียมตัวรองรับผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ทุกปี

อย่างไรก็ตามสิ่งสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึง คือความขัดแย้งต่างๆ ทั้งในเรื่องสถานการณ์ภายในประเทศหรือต่างประเทศ ความขัดแย้งทางการค้าของประเทศมหาอำนาจ ก็เป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องมาสู่ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจทั้งหมด แม้ว่ามูลค่าภาคอุตสาหกรรมอาหารที่มีมูลค่าแค่ 1,374,987 ล้านบาท

แต่เมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า 5,258,973 ล้านบาท ส่วนภาคบริการ 10,264,126 ล้านบาท จากตัวเลข GDP ของประเทศไทยในปี 2562 แต่อย่าลืมว่าเมื่อเกิดวิกฤตครั้งใด เศรษฐกิจไทยอยู่ได้เพราะภาคการเกษตรที่มีส่วนประคับประคองประเทศชาติไปรอดได้ ขณะภาคอุตสาหกรรมอื่นตายหมด

ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตภาคอุตสาหกรรมเกษตรก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจไปได้ เพราะสามารถผลิตสินค้าบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศได้

ในหลายๆ ประเทศที่ไม่ได้ทำภาคการเกษตร เขาเกิดวิกฤติมาก ขาดแคลนอาหาร ขาดแคลนปัจจัยต่างๆ ถือว่าประเทศไทยโชคดีมีภาคการเกษตรช่วยพยุง เพราะเราทำการเกษตรมายาวนาน และเราเป็นประเทศที่เลี้ยงตัวเองได้จากการเกษตร หากเกิดภัยพิบัติหรือภัยวิกฤติต่างๆ เรายังอยู่รอดได้ ต้องยกให้ภาคการเกษตรเป็นฮีโร่ช่วยประเทศชาติยามวิกฤติ

รุกตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์เพื่อความอยู่รอด

ด้านการตลาดนั้นคุณฉันทานนท์ แนะนำดังนี้

  1. ขยายช่องทางการจำหน่ายเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง อาทิ การเกษตรกพันธะสัญญา (Contract Farming)ระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย, การตลาดออฟไลน์ เช่นModern Trade รถโมบายเป็นต้น, การจำหน่ายผ่านPlatforn Online ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ช้อปปี้ ลาซาดา อะเมซอน เป็นต้น
  2. ปรับตัวในภาวะเงินบาทแข็งค่า คือการทำสัญญาแลกเปลี่ยน (SWAP) เพื่อป้องกันความผันผวนของค่าเงิน, การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
  3. ใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้กรอบความตกลงทางด้านค้าให้มากขึ้น เช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ในสุกรมีชีวิต, ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (AJCEP)ในสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์, หาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน เป็นต้น

ปัจจุบันการทำธุรกิจภาคอุตสาหกรรมเกษตรต้องตื่นตัวรับรู้สถานการณ์ ข่าวสาร และต้องมีการเตรียมพร้อมตลอดเวลา ที่สำคัญผลิตสินค้าออกมาต้องมีตลาดรองรับ หากผลิตออกมาไม่รู้ว่าจะขายที่ไหนโอกาสที่ขาดทุนมีสูง

ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าตลาดคือใคร ขายให้ใคร ยิ่งทำธุรกิจแบบพันธะสัญญาได้จะเป็นสิ่งที่ดียิ่ง แต่ต้องดูด้วยว่าทำสัญญาแล้วจะไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ซึ่งหากทำได้ผู้ประกอบการสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างแน่นอน

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=265455135218698&id=113964653701081&sfnsn=mo

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333