มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดบ้านท่าขามเกษตรพอเพียง

วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม โดย อาจารย์วาจิศา จันทรักษ์ หัวหน้าโครงการ อาจารย์น้ำฝน จันทร์นวล อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยคณะทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจตำบลแบบ  บูรณาการ (U2T) มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ตำบลขนอม (U2T ตำบลขนอม) ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม ตลาดชุมชน ยลวิถีพอเพียง “มรดกศาสตร์ศิลป์ วิถีถิ่นแห่งภูมิปัญญา ดำรงค่าวัฒนธรรม งามล้ำความเป็นไทย”

ตลาดชุมชน ยลวิถีพอเพียง “มรดกศาสตร์ศิลป์ วิถีถิ่นแห่งภูมิปัญญา ดำรงค่าวัฒนธรรม งามล้ำความเป็นไทย” เกิดจากการสานพลังประชารัฐในการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนคุณธรรมฯ บ้านบางโหนด ส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่อำเภอขนอม เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์สินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณค่า สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีพื้นที่ ได้นำเสนอและจำหน่ายสินค้า ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

บรรยากาศภายในงานมีกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของนักเรียน เยาวชน และผู้สูงอายุ การสาธิตภูมิปัญญาด้านการจักสาน การทำอาหารและขนอมพื้นบ้าน การจัดจำหน่ายสินค้าชุมชน ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การแสดงนิทรรศการของหน่วยงาน เทศบาลตำบลขนอม, เทศบาลตำบลอ่าวขนอม, เกษตรอำเภอขนอม, ปศุสัตว์อำเภอขนอม, พัฒนาชุมชนอำเภอขนอม, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอขนอม, ศูนย์การเรียนรู้โรงไฟฟ้าขนอม บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด, โรงแยกก๊าซธรรมชาติขนอม, กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า บริษัท ไฟฟ้าขนอม จำกัด, สมาคมท่องเที่ยวขนอม และประชาชนในพื้นที่อำเภอขนอม

ด้าน คุณกฤตษญา ตระบันพฤกษ์ วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ต้องขอชื่นชม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม กับการเอาใจใส่ในการพัฒนาพื้นที่ต่อ ยอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน และการให้ความร่วมมือกันในการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นให้เป็นภาพลักษณ์อันโดดเด่นของชุมชนไว้ และทำให้เกิดเป็น “ตลาดชุมชน ยลวิถีพอเพียง” ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการนำมรดกภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่จะช่วยยึดโยงให้ชุมชนเกิดการรวมตัว มีการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนเกิดเป็นเครือข่าย หรือกลุ่มในชุมชนที่จะนำไปสู่การทำกิจกรรม การพัฒนาด้านอื่นๆตามมาภายใต้บริบทเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างสมดุล ประชาชนอยู่กันอย่างมีความสุข และในที่สุดชุมชนจะเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน