รู้จักระบบ RPA ตัวช่วยวงการธุรกิจ ประหยัดต้นทุน ทุ่นแรงงาน

ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เทคโนโลยีซอฟต์แวร์กับเหล่าธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นของคู่กัน ด้วยงานในระดับอุตสาหกรรมมักจะเป็นการผลิตที่มีขนาดใหญ่ ทั้งมีการผลิตผลิตภัณฑ์สินค้าจำนวนที่สูงเป็นหมื่นๆ แสนๆ ชิ้น ต้องมอนิเตอร์ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ตลอดเวลา ต้องการความรวดเร็ว ความแม่นยำ รวมถึงต้องการเซฟความปลอดภัย เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่เป็นสิ่งที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อลด Human Errors มีระบบที่ควบคุมได้ และช่วยบูสต์การทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงตอบโจทย์เหล่าธุรกิจอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี ‘RPA’ หรือ Robotic Process Automation ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่กำลังพูดถึงอย่างแพร่หลาย และหลายๆ ธุรกิจอุตสาหกรรมได้หยิบยกมาใช้

เพราะตัว RPA มีความสามารถเรียนรู้ เลียนแบบ และดำเนินการตามขั้นตอนของธุรกิจได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า RPA แบบผ่านๆ กันมาบ้าง ในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ตัวนี้ให้มากขึ้นกัน RPA คืออะไร ทำงานอย่างไร ช่วยเซฟต้นทุน ทุ่นแรงงานได้ดีขนาดไหน ไปดูพร้อมๆ กันเลย!

RPA คืออะไร 

Robotic Process Automation หรือ RPA คือ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างและลด Process การทำงานที่ซ้ำๆ ของมนุษย์เรา โดยจะมีการผสมผสานเทคโนโลยี Rule Engine, Image Recognition, Machine Learning และ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาใช้ร่วมด้วยกัน ซึ่งผู้สร้างหรือผู้ใช้งานจะทำการสร้าง RPA โดยสังเกต Process และ Workflow รวมถึงการตัดสินใจต่างๆ ของมนุษย์ในองค์กรหรือธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นๆ มาใช้ป้อนข้อมูลให้บอต (Bot) ได้เรียนรู้ เลียนแบบ ก่อนที่บอตจะสามารถรันทำงานได้อัตโนมัติ

จุดเด่นของ RPA ที่แตกต่างจากเทคโนโลยีซอฟต์แวร์อื่นๆ คือ สามารถปรับแต่งและป้อนข้อมูลได้ค่อนข้างยืดหยุ่น อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ง่าย รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่เคยใช้เทคโนโลยีมาก่อน หรือไม่ถนัดการใช้เทคโนโลยีก็สามารถใช้ได้ง่ายๆ เพราะ RPA จะมีชุดฟังก์ชันสำเร็จรูป พร้อมใช้งาน ที่สามารถนำมาปรับแต่งให้เข้ากับการทำงานของแต่ละคน หรือแต่ละองค์กรนั่นเอง ที่สำคัญ RPA ยังสามารถมี Ineteraction กับแอปพลิเคชันหรือระบบต่างๆ ได้เหมือนกับมนุษย์เลย ทั้งยังเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา รวดเร็ว แม่นยำเทียบเคียงหรือมากกว่ามนุษย์ แต่ไม่เหนื่อย หรือต้องเผชิญกับปัญหาทางร่างกายเหมือนกับมนุษย์

ประเภทของ RPA 

ได้รู้กันไปคร่าวๆ แล้วว่า RPA คืออะไร เพื่อทำความรู้จัก RPA ให้มากขึ้น เรามาดูประเภทของ RPA กัน โดย RPA นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามรูปแบบการสั่งการ ดังนี้

1) Attended RPA

ประเภทแรก Attended RPA หรืออาจเรียกว่า Assisted RPA ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน ที่จะคอยทำงานให้กับมนุษย์หรืองานในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ผ่านทางชุดคำสั่ง โดย Attended RPA จะถูกใช้งานแบบ 1 : 1 หรือหนึ่งคอมพิวเตอร์ 1 ต่อพนักงาน 1 คน พร้อมกับชุดคำสั่งหรือบอตที่ถูกป้อนข้อมูลเอาไว้ให้ช่วยงานในเครื่องนั้นๆ โดย Attended RPA ช่วยลดภาระงานของพนักงาน ลดการทำงานวนลูปซ้ำๆ ช่วยบูสต์ประสิทธิภาพการทำงาน เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ในเวลาที่ต้องการ Attended RPA จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความรวดเร็วเป็นพิเศษ

2) Unattended RPA 

ประเภทถัดมากับ Unattended RPA หรือ Unassisted RPA เป็นบอตที่สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ มีความอิสระมากกว่า Attended RPA เพราะไม่ต้องถูกกระตุ้น หรือควบคุมการสั่งงานของผู้ใช้งานนั่นเอง โดยจุดประสงค์หลักของ RPA ประเภทนี้จะเน้นไปที่การทำธุรกิจ หรือในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติผ่านคำสั่งที่ถูกตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรกแบบครบทุกสเต็ป แถมทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงเหมาะกับงานที่มีเวิร์กโหลดสูง มีความซับซ้อน นอกจากนี้ จุดเด่นของ Unattended Robotic Process Automation คือ ช่วยเซฟ Cost หรือค่าใช้จ่ายในการแจ้งแรงงาน ในกรณีที่งานนั้นต้องการการมอนิเตอร์ตลอดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความผิดพลาด หรือ Human Error และทำให้พนักงานไม่ต้องเสียเวลาไปกับการทำงานซ้ำๆ นั่นเอง

ประโยชน์ของ RPA

แล้วการติดตั้งระบบ RPA (Robotic Process Automation) นี้ จะคุ้มค่าต่อการทำอุตสาหกรรมธุรกิจต่างๆ ไหม? มาดูประโยชน์และความพิเศษต่อการทำธุรกิจของ RPA เทคโนโลยีซอฟต์แวร์กัน

1) RPA ช่วยลด Cost หรือต้นทุนในระยะยาว เสริมกำไรให้เพิ่มขึ้น

เป้าหมายหลักของการทำธุรกิจแน่นอนว่าต้องเป็นเรื่องของยอดขายและกำไร ยิ่งกำไรมากเท่าไหร่ ก็แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการทำธุรกิจ และหนึ่งในวิธีที่ทำให้ได้กำไรมากขึ้น ก็คือลดต้นทุน หรือ Cost ที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด และ RPA นี้เป็นสิ่งที่ช่วยการลดต้นทุนในระยะยาวได้ อย่างที่เราบอกไปว่า RPA สามารถทำงานได้เทียบเคียงหรือมากกว่ามนุษย์ในบางด้าน และสามารถทำงานได้ด้วยตัว RPA เองแทบตลอด 24 ชั่วโมง จึงช่วยแบ่งเบาภาระงานซ้ำๆ ที่พนักงานต้องทำในแต่ละวัน ไม่ต้องจ้างแรงงานเพิ่มในช่วงเวลาดึกๆ หรือกลางคืน แถมประหยัดทรัพยากรลงไปได้มากพอสมควรเลย

2) RPA ช่วยเพิ่มผลผลิตสินค้าและการให้บริการให้มากขึ้น

นอกจากการพยายามลดต้นทุนจะช่วยเสริมกำไรให้มากขึ้นแล้ว หากสามารถผลิตสินค้าและบริการให้มากขึ้นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างในงานประเภทขนส่งและโลจิสติกส์ หรือการค้าขายสินค้าออนไลน์ที่ลูกค้าต้องการความรวดเร็ว และการบริการที่พร้อมอยู่เสมอ หาก RPA หรือบอตสามารถช่วยให้พนักงานมีเวลาและใช้แรงงานไปการดูแลลูกค้าและวางแผน Strategies ด้านการบริการมากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้มากขึ้นด้วยเหมือนกัน

3) RPA ช่วยเพิ่มการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

เพราะเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ RPA นี้ถูกออกแบบมาให้สามารถทำงานได้เทียบเคียงกับมนุษย์หรือมีความสามารถมากกว่าในมนุษย์ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานซ้ำๆ ได้เองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องผ่านการควบคุมตลอดเวลา ทำงานได้แบบอันลิมิต ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา หรือปริมาณงาน ทั้งยังมีความแม่นยำสูง ลด Human Errors ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้ว RPA จึงช่วยเพิ่มการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้การทำงานลื่นไหล ลดปัญหาต่างๆ ทางเทคนิค และการขาดกำลังคนลงได้

4) RPA ช่วยอัปสกิลและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพนักงาน 

การทำงานเดิมๆ วนๆ ซ้ำๆ จนเป็นกิจวัตร (Routine) นอกจากจะทำเหนื่อยแรงกาย เกิดความเหนื่อยหน่าย สุขภาพจิตของพนักงานหลายๆ คนยังถูกทำลายได้ง่ายมากขึ้นด้วย การนำ RPA ที่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการทำงานซ้ำๆ วนๆ และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติแทบตลอดเวลามาเป็นผูู้ช่วยในการทำงานแล้ว จึงช่วยเซฟเวลาและทุ่นแรงของพนักงานไม่ให้ต้องเสียพลังงานและเวลาไปกับการทำงานซ้ำๆ พนักงานหรือบุคลากรก็สามารถนำเวลาที่เหลือไปอัปสกิลที่จำเป็นในด้านอื่นๆ ได้ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตให้มีความสุขในการทำงานมากขึ้นด้วย

5) RPA ช่วยแจ้งเตือนและสั่งการระบบการทำงานแบบเรียลไทม์ 

อีกหนึ่งจุดเด่นของระบบ RPA คือสามารถตั้งชุดคำสั่งเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือการทำงานเพื่อส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ผ่าน API เช่น การสั่งเปิด-ปิดประตูเลื่อน การสั่งด้วยระบบด้วยเสียง แสง หรือใช้ระบบ Notifications เช่น การแจ้งเตือน Notifications แบบเรียลไทม์ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ หรือต้องการการแก้ไข (Watchlist) ในกรณีที่พนักงานทำงานผิดพลาด หรือแจ้งเตือนในพื้นที่หวงห้าม หรือพื้นที่เขตอันตราย

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ RPA (Robotic Process Automation) เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ยุคใหม่ ที่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งช่วยประหยัดต้นทุน ทุ่นแรงงาน เซฟเวลา ทำให้บุคลากรสามารถพัฒนาสกิลของตัวเอง และมีเวลาบริการเหล่าลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติที่ปรับแต่งและป้อนข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ ไม่ว่าใครก็สามารถใช้งานได้แบบง่ายๆ ด้วย ดังนั้น ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไหนที่อยากจะให้ Process และ Workflow เป็นไปอย่างลื่นไหล การมีระบบ RPA ติดตั้งไว้รับรองว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นแน่นอน

สำหรับธุรกิจไหนที่สนใจติดตั้ง RPA เทคโนโลยีซอฟต์แวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างและลด Process การทำงานที่ซ้ำๆ ของมนุษย์เรา เพื่อช่วยบูสต์การทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่ dIA มีบริการติดตั้ง RPA (Robot Process Automation) ช่วยลด Cost ต้นทุน เซฟแรงพนักงาน ทำให้พนักงานสามารถอัปสกิลและบริการลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากขึ้น สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ dIA หรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน AI อื่นๆ ที่ตอบโจทย์ในการทำธุรกิจสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://www.dia.co.th/