อย. แนะวิธีการขออนุญาตปลูกกัญชาทางการแพทย์

กระแสความนิยมการใช้กัญชาทางการแพทย์ขยายตัวในวงกว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรจำนวนมากสนใจปลูกกัญชาโดยยื่นขออนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แต่กว่าจะผ่านแต่ละขั้นตอน หลายคนบ่นว่ายาก เหตุเพราะไม่เข้ากฎกติกาดังกล่าว

ภก. สัญชัย จันทร์โต เภสัชกรชำนาญการ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงมีคำแนะนำในการยื่นขออนุญาต อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ อย. มาบอกเล่าแก่ผู้สนใจดังต่อไปนี้ (ถอดความจากเวทีสัมมนาในหัวข้อ การกำกับดูแลและการนำ “กัญชาและกัญชง” ไปใช้ประโยชน์ภายใต้กฏหมายใหม่ ในงานมหกรรมกัญชง กัญชา 360 องศา จังหวัดบุรีรัมย์ 6 มีนาคม 2564)

วิธีการขออนุญาตปลูกกัญชาทางการแพทย์

อันดับแรก ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ชัดเจนมาก เรื่องของผู้ได้รับอนุญาต ได้แก่ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดำเนินตามกฎหมาย

1. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่วิจัย คือ จัดการเรียนการสอน การแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเกษตรศาสตร์

2. หน่วยงานที่มีหน้าที่บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรมหรือวิทยาศาสตร์

โดย 2 หน่วยงานนี้มีความสำคัญ เพราะเวลาเราไปดำเนินร่วมกับหน่วยงานรัฐต้องมีหน้าที่ตามกล่าวมาหรือป่าว หากมีมหาวิทยาลัยมาขอปลูกกัญชา ต้องดูว่าหน้าที่ของผู้ขอตามมาตรา 16/5 กำหนดระบุไว้ว่าจะต้องมีคณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ หากไม่มีจะไม่สามารถขอปลูกได้ และยังมีผู้ประกอบวิชาเกษตรกรรมที่ต้องรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือกลุ่มสหกรณ์การเกษตร (ต้องรวมกลุ่มถึงจะสามารถขอปลูกได้) ทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นบทเฉพาะการณ์ภายใน 5 ปีแรก

เกษตรกรสามารถปลูกกัญชาได้

เกษตรกรสามารถปลูกกัญชาได้ แต่การรวมกลุ่มกัน ซึ่งการรวมวิสาหกิจชุมชนต้องมีอย่างน้อย 7 คน (ไม่สามารถจดเพื่อปลูกกัญชาได้ในตอนแรก ต้องปลูกพืชชนิดอื่นก่อน เช่น ข้าวโพด มะม่วง พอได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาแล้ว ให้เอาใบวิสาหกิจชุมชนไปจดทะเบียนเพิ่มที่หลังได้ ว่านอกจากจะปลูกข้าวโพดหรือมะม่วง จะปลูกกัญชาเพิ่มไปด้วย)

กระบวนการในการพิจารณาการอนุญาตผลิต (ปลูก)

1. ยื่นคำขอและเอกสารประกอบคำขอ ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. (ในต่างจังหวัดหากไม่สะดวก สามารถฝากยื่นที่ได้ สสจ.)

2. อย.จะตรวจสอบเอกสารและสถานที่ขออนุญาติปลูก (หากปลูกมากกว่า 50 ตารางเมตร ต้องจัดทำเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ทั้งสแกนลายนิ้วมือ ติดกล้องวงจรปิด ที่ยามรักษาความปลอดภัย หากปลูกน้อยกว่า 50 ตารางเมตร สามารถตรวจจากภาพถ่ายได้ โดยขอบเขตขั้นต่ำ คือ รั่วลวดหนามครอบแปลงกลางแจ้งหรือกรีนเฮาส์ที่จะปลูกกัญชา)

3. เมื่อตรวจสอบเสร็จจะนำเรื่องเข้าพิจารณาที่คณะอนุกรรมการ ที่อย. และส่งต่อให้คณะกรรมการการควบคุมยาเสพติดของประเทศพิจารณาอนุญาติให้ท่านอีกที

Model การขออนุญาตปลูกกัญชา 6 ต้น                            (สมาชิกวิสาหกิจชุมชน)

ถ้าท่านจะปลูกโมเดล 6 ต้น เพื่อที่จะประชาชนมีส่วนร่วมภายใต้กฎหมายฉบับปัจจุบันในระดับครัวเรือน  ต้องไปดำเนินการกับ รพ.สต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ที่อยู่ใกล้ๆ ท่าน โดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนรวมตัวกัน 6 คน ไปจดทะเบียน หลังจากนั้นต้องขอรับเมล็ดพันธุ์ หรือต้นอ่อนเพื่อนำไปปลูกต่อไป

แผนการผลิต (ปลูก)

ปลูกกัญชา 1 ต้น จะได้ช่อดอกสดเป็นขั้นต่ำคือ ครึ่งกิโลกรัม คิดเป็นน้ำหนักกิโลกรัมแห้ง คิดเป็น 20% ได้ประมาณ 0.12 กิโลกรัม และได้ใบสด กิ่ง ก้าน ราก ใบ ประมาณ 2 กิโลกรัม หากปลูก 6 ต้น ได้ช่อดอกสด 3 กิโลกรัม คิดเป็นน้ำหนักกิโลกรัมแห้ง คิดเป็น 20% ได้ประมาณ 0.6 กิโลกรัม และได้ใบสด กิ่ง ก้าน ราก ใบ ประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อต้น (การประมาณการนี้ต้องเป็นต้นตัวเมียทั้ง 6 ต้น)

แผนการใช้ประโยชน์

ส่งต่อผลผลิต ช่อดอก ให้ รพ.สต. แต่ผลผลิตที่ได้รับการยกเว้นคือ ใบ กิ่ง ก้าน ราก ลำต้น สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ เช่น ยา อาหาร เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น

แผนที่พื้นที่ตั้งปลูก

• ปลูกในพื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัย (มีสิทธิ์ในที่ดิน/กรรมสิทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมาย)

• แสดงที่ตั้ง และที่อยู่ในชัดเจน มีแบบแปลนพื้นที่ปลูก

• แผนที่และเส้นทางการเข้าถึงต้องชัดเจน

• ระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ ( GPS )

มาตรการรักษาความปลอดภัย

• ในกรณีที่ปลูกในบ้านที่อยู่อาศัยสามารถปลูกได้ แต่ต้องมีการจัดทำพื้นที่แนวรั้วลวดหนามธรรมดาล้อมรอบพื้นที่ปลูก

• ความสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อป้องกันการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่

• ทางเข้าพื้นที่ปลูกกัญชาต้องมีการป้องกันเข้าถึง