อย. แนะ ขั้นตอนนำเข้า-ส่งออก-ปลูก-ขายกัญชง

ใครอยากปลูก-ขาย-นำเข้า-ส่งออกกัญชงฟังทางนี้ ภญ. พรสุรีย์ ศรีสว่าง เภสัชกรชำนาญการพิเศษ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีคำแนะนำเกี่ยวกับ 4 ขั้นตอนสำคัญในการนำเข้า-ส่งออก-ปลูกและขายกัญชงอย่างละเอียดมาบอกเล่าให้ฟังอย่างละเอียด ครบถ้วนตามกติกา สามารถเริ่มต้นทำการค้ากัญชงกันได้เลย (ถอดความจากเวทีสัมมนา หัวข้อ การกำกับดูแลและการนำ “กัญชาและกัญชง” ไปใช้ประโยชน์ภายใต้กฎหมายใหม่ ในงานมหกรรมกัญชง กัญชา 360° จังหวัดบุรีรัมย์ 6 มีนาคม 2564)

การยื่นคำขออนุญาตกัญชง

กัญชง จะมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 1 (โดยการวัดสารสำคัญจากช่อดอก) หากเกิน ร้อยละ 1 จะถูกนับว่าเป็นกัญชา โดยส่วนต่างๆ ของกัญชง สามารถเอาไปใส่อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้

กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง ซึ่งยาเสพติดประเภท 5 เฉพาะกัญชง พ.ศ. 2563

ตอนนี้คนที่สามารถดำเนินการได้ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานรัฐแล้ว ทุกคนสามารถดำเนินการขอปลูกได้ (เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน โรงพยาบาล ก็สามารถปลูก ผลิต สกัดได้เองเลย) แต่ต้องดูที่วัตถุประสงค์ คือ 1. ให้ใช้ประโยชน์ตามเส้นใย ตามประเพณีวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัว 2. ปลูกในเชิงอุตสาหกรรม 3. ปลูกเพื่อใช้ในการแพทย์ 4. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษา วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์ 6. เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง

บทเฉพาะการใน 5 ปีแรก กำหนดไว้ว่า ห้ามการนำเข้าทุกส่วนของกัญชงยกเว้นเมล็ด (เพื่อปลูกเท่านั้น ในเชิงพาณิชย์ไม่สามารถนำเข้าเมล็ดกัญชงเพื่อหีบเป็นน้ำมันได้ในตอนนี้) หากนำเข้าในตอนนี้ยังถือว่าเป็นยาเสพติดอยู่ นอกจากจะนำเข้ามาเพื่อศึกษา วิจัย จะได้รับการยกเว้น

ส่วนไหนในกัญชง-กัญชา ไม่เป็นยาเสพติด

จะเริ่มจากต้นกัญชาก่อน เมล็ดกัญชา กับช่อดอกกัญชา ยังเป็นยาเสพติดอยู่ ส่วนของกัญชง มีแค่ช่อดอกเท่านั้นที่เป็นยาเสพติด ส่วนอื่นไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ก้าน ราก ใบ หลุดจากยาเสพติด แต่ต้องได้จากต้นที่ปลูกภายในประเทศเท่านั้น

ใบขออนุญาต ของกัญชง

การนำเข้าเมล็ดพันธุ์ต้องมีใบอนุญาต นำเข้า ยส.5 การปลูกต้องใบอนุญาต (ปลูก) ยส.5 เฉพาะกัญชง แต่เมื่อได้ผลผลิตแล้วหากได้แกนลำต้น เปลือก เส้นใย ใบ กิ่ง ก้าน ราก หรือเมล็ด ไม่ต้องขอใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติด แต่หากผลผลิตเป็นช่อดอกต้องขอใบอนุญาตผลิต ยส. และสารสกัดจากกัญชงที่มีส่วนประกอบที่มี CBD หากมีค่า CBD มากกว่าหรือเท่ากับ 99% และ THC น้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.01% หรือค่า THC น้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.2% ไม่ต้องขอใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติด หากมากกว่าต้องขอใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติด

การยื่นคำขออนุญาตกัญชง

  1. 1. แนะนำกฎหมายที่ควรศึกษาเบื้องต้นก่อนการขออนุญาต

– กฎหมายกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาต ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (hemp) พ.ศ. 2563

– ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563

– ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสถานที่ และระบบการควบคุมการปลูกกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2564

มี 6 วัตถุประสงค์ที่ขออนุญาตเกี่ยวกับกัญชงได้

– เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานรัฐ

– เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น (ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่)

– เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม

– เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

– เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์

– เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง

  1. สถานที่ยื่นคำขอ (กรณีผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง)
  2. ขั้นตอนการอนุญาต
  3. ขั้นตอนการอนุญาตนำเข้า/ส่งออก
  4. ขั้นตอนการอนุญาตนำเข้า/ส่งออกในแต่ละครั้ง
  5. ขั้นตอนการอนุญาตในการผลิต (ปลูก)/ผลิต (ที่ไม่ใช่การปลูก)
  6. ขั้นตอนการอนุญาตจำหน่าย/มีไว้ในครอบครอง

การยื่นคำขอดำเนินกิจกรรมกัญชง

การยื่นคำขอเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดการดำเนินกิจกรรมกัญชง กำหนดระยะเวลาการได้รับอนุญาตไว้ในกฎกระทรวงฯ ซึ่งเวลาในการอนุญาตจริงอาจใช้ระยะไม่ถึงเวลาสูงสุดดังกล่าว (ดูจากรอบระยะเวลา (timeline) การอนุญาตในกฎกระทรวงฯ สามารถวางแผนการยื่นคำขอล่วงหน้า โดยการนับย้อนเวลาจากวันที่จะดำเนินกิจกรรมนั้นๆ), (ระยะการอนุญาตครอบครอง ไม่เกิน 60 วัน)

การเลือกใช้แบบคำขอ

– แบบคำขอรับใบอนุญาตผลิต (ปลูก) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 1)

– แบบคำขอรับใบอนุญาตผลิต (ที่มิใช่การปลูก) ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 2)

– แบบคำขอรับใบอนุญาตนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 3)

– แบบคำขอรับใบอนุญาตส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 4)

– แบบคำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 5)

– แบบคำขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (แบบกัญชง 6 )

– แบบคำขอรับใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งกัญชงในแต่ละครั้ง (แบบ NAR.5 (HEMP))

สำหรับอายุใบอนุญาตผลิต/นำเข้า/ส่งออก/มีไว้ในครอบครองนี้ มีอายุตั้งแต่วันลงนามจนถึง 31 ธันวาคมของปีปฏิทินในปีนั้น แต่ใบอนุญาตนำเข้ากัญชงในแต่ละครั้ง มีอายุ 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ผู้อนุญาตลงนาม แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคมของปีนั้น

แบบฟอร์มการกรอกข้อมูล

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ขออนุญาตและผู้ดำเนินการ (เป็นการกรอกข้อมูลวัน/เดือน/ปีเกิด เลขทะเบียนบ้าน) แบ่งเป็น 3 หัวข้อ

1.1 กรณีบุคคลธรรมดา

1.2 กรณีวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ที่ไม่เป็นนิติบุตคคล

1.3 กรณีนิติบุคคล

1.3.1 นิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ

1.3.2 นิติบุคคลอื่นที่มิใช่หน่วยงานของรัฐ

ส่วนที่ 2 ข้อมูลพื้นที่ปลูกกัญชง โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่ จะกรอกข้อมูลวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตและรูปแบบการปลูก (โดย 1 รูปแบบ ปลูก ต่อ 1 ลำดับพื้นที่ เช่น พื้นที่ลำดับที่ 1 ปลูกกลางแจ้ง พื้นที่ปลูกกรีนเฮ้าส์) รายละเอียดสถานที่ เช่น ชื่อสถานที่ บ้านเลขที่ เป็นต้น และก็มีพันธุ์และส่วนที่ใช้ปลูก

ส่วนที่ 3 เอกสาร หรือหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาต (เป็นการเช็กลิสต์ เอกสาร หรือหลักฐานตามประเภทของผู้อนุญาตและวัตถุประสงค์การขออนุญาตการผลิต) และก็ชื่อผู้ประสานงานของผู้ขออนุญาต เพื่อจะได้ติดต่อได้สะดวก

การขออนุญาตผลิต (ปลูก) เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง

กรณีที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาตเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง เพราะว่าในการนำมาปลูกในประเทศไทยมีอากาศต่างจากต่างประเทศ อาจทำให้มี THC สูงกว่า จึงต้องมีการขอมาทำศึกษาวิจัยก่อน เพื่อจะได้ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์รับรอง

แนะนำเว็บไซต์ และช่องทางการติดต่อสอบถาม

www.fda.moph.go.th เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับกองควบคุมวัตถุเสพติด สามารถเข้าไปเลือกตรงข้อมูลกัญชงได้เลย ซึ่งจะมีแบบฟอร์มคู่มือและแนวทางต่างๆ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกัญชง 1556 กด 3

-กฎหมายกัญชง

กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. โทรศัพท์ (02) 590-7314, (02) 590-7761

-การรับคำขอและการอนุญาต (ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง)

กลุ่มกำกับดูกแลก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. โทรศัพท์ (02) 590-7768-9, (02) 590-7793-4

-การรับคำขอและการอนุญาตเกี่ยวกับต่างประเทศ (นำเข้าส่งออกในแต่ละครั้ง)

กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. โทรศัพท์ (02) 590-7346, (02) 590-7706

-การผลิตยาตำรับกัญชง หรือผลิตภัณฑ์กัญชงที่เป็นยาเสพติดให้โทษ

กลุ่มกำกับการดูแลก่อนออกสู่ตลาด กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. โทรศัพท์ (02) 590-7770