ดันรถห้องสมุดเคลื่อนที่ กศน.เข้าชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพรักการอ่าน

ดร.มณฑาทิพย์ เสยยงคะ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ได้เก็บข้อมูลเพื่อการวิจัย การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย และเพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย

แบ่งการเก็บข้อมูลในการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย พบว่า ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากยังอ่านหนังสืออยู่ในระดับต่ำ โดยใน 1 วันประชาชนอำเภอโพธิ์ตากอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย 30 นาที

ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย โดยดำเนินการสังเคราะห์กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากแนวคิดทฤษฎีจากหนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย ข้อมูลบนเว็บไซต์ และจากกลุ่มผู้ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 10 คน ตัวแทนกลุ่มผู้บริหาร ตัวแทนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ผู้แทนอาสาสมัครนักอ่าน อำเภอโพธิ์ตาก ผู้แทนครู กศน. ตำบล ผู้แทนผู้นำชุมชน โดยได้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย

  1. กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเชิงรุก กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่
  2. กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในครอบครัว กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมพ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง (Book start)
  3. การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านรหัสคิวอาร์ (QR code)
  4. กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้านอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมการอ่านส่งเสริมอาชีพ
  5. กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านห้องสมุดมีชีวิต กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ การพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต
  6. กิจกรรมการสร้างเครือข่ายรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสม ได้แก่ กิจกรรมบันทึกข้อตกลง (MOU) เครือข่ายนักอ่าน

ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย การทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย มีลักษณะเป็นวงจร ประกอบด้วย ขั้นวางแผนการดำเนินงาน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และขั้นการปรับปรุงแก้ไข

โดยผลการทดลองพบว่า ขั้นวางแผนการดำเนินงานผู้วิจัยได้ดำเนินการภายใต้โครงการหมู่บ้านนักอ่าน และขั้นลงมือปฏิบัติ ได้ดำเนินพัฒนากิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ โดยการพัฒนารถห้องสมุดเคลื่อนที่ และกำหนดให้มีรูปแบบที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทุกพื้นที่ในอำเภอโพธิ์ตากทั้ง 3 ตำบล 27 หมู่บ้าน โดยให้บริการหมู่บ้านละ 1 สัปดาห์ ต่อคัน หลังจากให้บริการครบตามแผนที่กำหนดจะเคลื่อนไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ทำอย่างนี้จนครบทั้ง 27 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากทุกช่วงวัยสื่อที่นำออกให้บริการในรถห้องสมุดเคลื่อนที่ ได้แก่ หนังสือทั่วไป จุลสาร นิตยสาร วารสาร แท็บเล็ต ปากกาอัจฉริยะ หนังสืออัจฉริยะ และ รหัสคิวอาร์ (QR code)

กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในครอบครัว ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้ดำเนินการคือ กิจกรรมพ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง (Book start) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือนในอำเภอโพธิ์ตากที่มีเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี

กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้ดำเนินการคือ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านรหัสคิวอาร์ (QR code) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป

กิจกรรมการอ่านส่งเสริมอาชีพ ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้ดำเนินการคือ กิจกรรมการอ่านส่งเสริมอาชีพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากช่วงอายุ 15 ปีขึ้นไป

กิจกรรมพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้ดำเนินการคือ กิจกรรมการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต ประกอบด้วย การพัฒนาห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก การพัฒนาห้องสมุดโครงการด้วยรักและห่วงใย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การพัฒนาห้องสมุดหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากทุกช่วงวัย

กิจกรรมการสร้างเครือข่ายรักการอ่าน ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ได้คือ กิจกรรมบันทึกข้อตกลง (MOU) เครือข่ายนักอ่าน และ

ระยะที่ 4 เป็นการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ใช้วิธีการสร้างแบบสอบถามเพื่อการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน พิจารณา พบว่าผู้เชี่ยวชาญทั้ง 11 ท่านได้ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย พบว่าผู้เชี่ยวชาญทุกคน มีความคิดเห็นว่ารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการสร้างนิสัยรักการอ่านของประชาชนอำเภอโพธิ์ตากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการเปรียบเทียบสภาพนิสัยรักการอ่านของประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ก่อนและหลังการนำรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย มาใช้ในการสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ทำให้ประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก อ่านหนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.11 ระยะเวลาของการอ่านของประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก ใน 1 วัน พบว่าประชาชนอำเภอโพธิ์ตากใช้เวลาในการอ่าน 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.38 รองลงมาคือ อ่านมากกว่า 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.31 และอ่าน 45 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.38 มีจำนวนไม่อ่านเลย ลดลงร้อยละ 14.55 ในส่วนของการใช้เวลาอ่านหนังสือตามความสนใจของตนเอง (ไม่เกี่ยวกับการเรียน)

พบว่าประชาชนอำเภอโพธิ์ตากใช้เวลาในการอ่านมากกว่า 1 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.08 สำหรับประเภทของสื่อที่ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากชอบอ่านมากที่สุด คือ วารสารและนิตยสารบันเทิง อ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 และอาชีพ อ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.19 และในรอบ 1 ปี ประชาชนอำเภอโพธิ์ตากเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มากกว่า 6 ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.58