กศน.โพนพิสัย จัดระบบการทำงานครูกศน.ใหม่ แก้ปัญหาส่งงานล่าช้า

โดยหน้าที่ของครูกศน.จะมีหน้าที่จัดกิจกรรม กศน. ในหมู่บ้านชุมชนที่รับผิดชอบ ประสานการทำงานร่วมกับหัวหน้า กศน.ตำบล ชุมชนและภาคีเครือข่าย โดยมีหลักการทำงาน คือยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งกศน.ตำบล มีขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ สร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย;และประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน

ดร.มณฑาทิพย์ เสยยงคะ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า ปัญหาการส่งงานตามหน้าที่ของครูกศน.ตำบล ของที่นี่ ไม่ตรงต่อเวลาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัย จึงเริ่มศึกษาแนวทางการปัญหา โดยเริ่มศึกษาข้อมูลจากการเก็บสถิติการส่งงานในหน้าที่ของครู กศน. ตำบล จำนวน 28 คน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564 พบข้อมูล ว่า เกิดจากแผนปฏิบัติงานประจำปีได้รับการอนุมัติล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด ปฏิทินปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ
โพนพิสัยไม่ชัดเจน บุคลากรบางกลุ่มส่งรายงานผลการดำเนินกิจกรรมล่าช้า สืบเนื่องจากไม่ได้รับการอำนวยความสะดวกด้านอุปกรณ์การดำเนินงาน เช่น เครื่องพิมพ์ วัสดุสำนักงาน รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นในการดำเนินงาน

ดร.มณฑาทิพย์ จึงระดมความคิด เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา โดยการมอบหมายให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ครูอาสาสมัครกศน. เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้ดำเนินการ กระตุ้นให้เกิดการแสดงความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามไตรมาส โดยมีครู กศน. ตำบล ทั้ง 28 คน เป็นกลุ่มผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น สรุปเป็นแนวทางการแก้ปัญหา ดังนี้ กำกับติดตามการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัยให้ชัดเจน กำกับติดตามบุคลากรส่งผลการดำเนินกิจกรรมให้ตรงต่อเวลา อำนวยความสะดวกด้านอุปกรณ์การดำเนินงาน เช่น เครื่องพิมพ์ วัสดุสำนักงาน รวมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นในการดำเนินงาน อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ในการดำเนินงานในช่วงเวลาเร่งด่วน และใช้วิธีการเสริมแรงสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร

“เราจึงเริ่มแก้ปัญหาตามแนวทางที่ได้ลองศึกษามา ช่วงระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564 พบข้อมูลว่า เมื่อเปรียบเทียบพัฒนาการก่อน-หลังการพัฒนา มีผลการเปรียบเทียบพัฒนาการส่งงานในหน้าที่ของครู กศน. ตำบล ไม่ตรงต่อเวลาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนพิสัย ดังนี้ จำนวนร้อยละการส่งงานในหน้าที่ของครู กศน.ตำบล ตรงต่อเวลา คิดเป็นร้อยละ 100 แสดงให้เห็นว่า การศึกษาเก็บข้อมูลและดำเนินการแก้ปัญหามาถูกทางและถูกต้อง ทำให้ไม่เกิดปัญหาอีกต่อไป”