นักศึกษา มทร.ตรัง สร้างสมาร์ทฟาร์มเมล่อน ควบคุมการดูแลด้วยเทคโนโลยี

วันที่ 7 สิงหาคม 2566 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง นักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ได้พัฒนาระบบการทำสมาร์ทฟาร์มเมล่อน โดยใช้ระบบควบคุมดูแล ฟาร์มเมล่อนด้วยเทคโนโลยี IOT (Internet of Things) ทั้งหมด ซึ่งเมล่อนเป็นผลไม้ที่มีราคาสูง เพราะว่าจะต้องใช้การดูแลเอาใจใส่อย่างพิถีถันมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะ “เมล่อนสีทอง” ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและสามารถขายได้ราคาที่ค่อนข้างดี

นายศรายุทธ ชูแก้ว นายสิทธิกรณ์ จันทร์สุขศรี และนายพาทิศ ฤทธิ์ทอง นักศึกษาชั้นปีที3 สาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ทั้งสามร่วมกันคิดค้นระบบควบคุมดูแลฟาร์มเมล่อน โดยการเขียนโปรแกรมการควบคุมระบบการให้น้ำ การผสมปุ๋ย การปรับอุณหภูมิด้วยการพ่นหมอกควัน เชื่อมต่อด้วยสัญญาณอินเตอร์เน็ท ผ่านการควบคุมบนมือถือ เพื่อให้เมล่อนที่ปลูกในโรงเรือนมีการเจริญเติบโตได้ดี ลดการใช้ทรัพยากร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปรับระบบการให้น้ำ การใส่ปุ๋ย และปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม ระบบนี้สามารถช่วยเกษตรกรลดการสิ้นเปลืองน้ำและปุ๋ย และเพิ่มสิทธิภาพของผลิต มีการแจ้งเตือนตามกำหนดเวลาจริงที่ตั้งไว้

ซึ่งเมล่อนที่ทำการทดลองปลูกคือสายพันธุ์ เรด ฮันนี่ โดยการปลูกในโรงเรือน จำนวน 75 ต้น ผลผลิตที่ได้จะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ผลจะมีสีเหลือ เนื้อสัมผัสหวาน กรอบ หอมอ่อนๆ เมื่อนำมาวัดหาค่าความหวานของเมล่อนจะได้ค่าความหวานที่ 18 องสาบริกซ์ โดยทั่วไปแล้วเมล่อนจะมีความหวานอยู่ที่ประมาณ 14-16 องศาบริกซ์ ซึ่งจะได้ความหวานสูงเพราะต้นเมลอนมีความสมบูรณ์และได้รับสารอาหารครบถ้วนด้าน อาจารย์ภูมินทร์ อินทร์แป้น หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร กล่าวว่า สมาร์ทฟาร์มเมล่อน เป็นโปรเจคของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยได้เล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี IOT (Internet of things ) ในการประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตร โดยใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ ต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เพื่อควบคุมการให้น้ำและปุ๋ย แบบอัตโนมัติ ลดแรงงานในการจัดการบริหารจัดการฟาร์มเมล่อน สามารถสั่งการ และมอนิเตอร์ดูข้อมูลต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกสบาย ลดเวลาการทำงานลงได้

จากผลการทดลองในโรงเรือนระบบปิด ปรากฏว่าได้ผลผลิตตามที่ต้องการ 100 % จากการทำฟาร์มเมล่อนแบบเดิมๆ หากเกษตรกรสนใจ เพื่อเข้าชม ศึกษาดูงานได้สามารถติดต่อทางคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หมายเลขโทรศัพท์ 0807191950