ไทยพร้อมตรวจเชื้อ “แอนแทรกซ์”

เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันพบผู้ป่วยติดเชื้อแอนแทรกซ์ 2 ราย จากการสัมผัส บริเวณโภคเนื้อแพะนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ถึงแม้ขณะนี้จะสามารถควบคุมโรคได้ แต่ก็อาจทำให้ประชาชนวิตกว่าจะมีระบบในการตวจสอบเชื้อโรคอย่างไร

ล่าสุด นพ. สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีระบบในการตรวจวินิจฉัยเชื้อแอนแทรกซ์ทางห้องปฏิบัติการจากผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ เพื่อตอบสนองนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศ เพื่อให้ได้ผลยืนยันอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับสามารถเตรียมป้องกันและควบคุมโรคนี้อย่างเต็มที่ การยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยได้รวดเร็ว จึงมีส่วนสำคัญต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งต้องอาศัยเตรียมข่ายห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับผิดชอบด้านห้องปฏิบัติการและประสานกับห้องปฏิบัติการเครือข่ายในการส่งต่อสิ่งส่งตรวจมาเพื่อดำเนินการตามภารกิจต่อการตอบสนองการป้องกันควบคุมโรคแอนแทรกซ์ โดยห้องปฏิบัติการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เปิดให้บริการเพาะแยกเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส แอนทราซิส (Bacillus anthracis) จากสิ่งส่งตรวจ ทั้งเลือด เสมหะ อุจจาระ ป้ายแผล ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ ที่จำเพาะต่อการเจริญเติบโต และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี และวิเคราะห์สเปกตรัมโปรตีนของเชื้อ ด้วยเทคนิค MALDI-TOF Mass Spectrometry ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BIOSAFETY LEVEL (BSL3) LABORATORY) ซึ่งบุคลากรจะต้องสวมชุดอวกาศป้องกันอันตรายจากเชื้อ Bacillus anthracis

ห้องปฏิบัติการสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง กรณีเกิดโรคระบาดเหตุฉุกเฉิน สามารถตรวจยืนยันผลได้ภายใน 3 วันทำการเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน