กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุด ระวังการระบาดเพลี้ยไฟมังคุด

กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดในภาคตะวันออก ที่มังคุดอยู่ในระยะแตกใบอ่อน จนถึงระยะมังคุดออกดอกและติดผลอ่อน เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้ หนาวเย็น อากาศแห้ง และฝนเริ่มทิ้งช่วง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประชากรและการระบาดของเพลี้ยไฟ

เพลี้ยไฟเป็นแมลงปากเขี่ยดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ดอกอ่อนและผลอ่อน ทำให้ยอด ผิวของผล เป็นขี้กลาก หรือผิวลาย มียางไหลและอาจทำให้ผลร่วง ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ โดยสุ่มเคาะช่อดอกบนกระดาษขาว หากพบการเริ่มเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ให้แจ้งการระบาดและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน

ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟมังคุดด้วยวิธีการ ดังนี้

  1. สำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
  2. 2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ และด้วงเต้าตัวห้ำ
  3. 3. ถ้าพบการระบาดไม่รุนแรงพ่นด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดความชื้นในทรงพุ่ม หรือพ่นน้ำใน

ระยะออกดอกจนกระทั่งถึงติดผลอ่อนทุก 2 – 3 วัน

  1. 4. ใช้กับดักกาวเหนียวขนาดใหญ่ติดตั้งในสวนมังคุดตั้งแต่มังคุดเริ่มแตกใบอ่อน (กับดักกาว

เหนียวสีเหลืองขนาดกว้าง 24 นิ้ว ยาว 26 นิ้ว จำนวน 4 กับดักต่อต้น)

  1. 5. ในสวนมังคุดที่มีการระบาดรุนแรงควรพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ดังนี้

– คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– ฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

– ไซเพอร์เมทริน 6.25% โฟซาโลน 22.5% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร