เตือนกิน “ลาบดิบ” เสี่ยง “หูดับ” เหตุรับเชื้อจากหมูเครียด หลั่งสารพิษในสมอง

นายแพทย์ขจร วินัยพานิช สาธารณสุข จ.พะเยา เปิดเผยว่าล่าสุดในพื้นที่พะเยา 68 ตำบล 9 อำเภอ พบประชนชนป่วยได้รับเชื้อสเตรฟโตคอกคัสซูอิส หรือลาบดิบหูดับสาเหตุมาจากบริโภคเนื้อสุกรแบบสุกๆ ดิบๆหรือปรุงไม่สุก และรวมไปถึงได้รับเชื้อจากสารคัดหลั่งของหมู หากประชาชนเป็นแผลบริเวณมือ,เท้า และทาง สสจ. ได้ประกาศเตือนไปยังประชาชน แต่ละสาขาอาชีพควรระวัง โรคไข้หูดับที่เชื้ออยู่ในตัวของหมูคือ เชื้อสเตรฟโตคอกคัสซูอิส

น.พ.ขจรกล่าวอีกว่า การลงพื้นที่เก็บข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ผู้เกี่ยวข้องในการพบผู้ป่วยหูดับในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และพบผู้ป่วยอย่างเป็นทางการ ที่ไปรักษาตัวกับทางโรงพยาบาลรวม 7 ราย แยกเป็นผู้ป่วยในพื้นที่ อ.จุน 4 ราย- เชียงคำ 1 ราย -ภูซาง 1 ราย และแม่ใจ 1 ราย และพบผู้ป่วยหลังจากกินเนื้อหมูแบบสุกๆ ดิบๆ ประมา 1-3 วันนับได้ว่าโรคหูดับเป็นโรคอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน หลังจากได้รับเชื้อสเตรฟโตคอกคัสซูอิส โรคนี้จะระาดก็ต่อเมื่อหมูที่เลี้ยงแบบแออัด ถ้าหากหมูเครียดสารหรือเชื้อสเตรฟฯล จะหลั่งสารออกจากสมองหมู ลงสู่เส้นเลือดกระจายเข้าในตัวหมู ทันทีแบบอัตโนมัติในทางเดินหายใจส่วนบนของสุกร

ทางด้านนายพงศ์พัฒน์ ขัตพันธ์ ปศุสัตว์จังหวัดพะเยา กล่าวอีกว่าหลังจากพบผู้ป่วยลาบดิบหูดับ ได้ลงพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ สสอ. เพื่อสกัดควบคุมโรคริเวณที่พบผู้ป่วยในรัศมี 4-5 ก.ม. ห้ามเคลื่อนย้ายหมู่ออกจากพื้นที่อย่างน้อย 90 วัน เพราะหมูหรือสุกรมักไม่แสดงอาการป่วย และให้เลี้ยงสุกรอยู่ในภาวะสุขาภิบาลปกติ หากพบหมูตายผิดปกติห้ามชำแหละหรือจำหน่ายโดยเด็ดขาด ให้รีบแจ้งปศุสัตว์ตำบล,อำเภอฯ เพื่อไปตรวจหาสาเหตุและป้องกันควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง และที่สำคับเจ้าของคอกหมูฟาร์มหมู ขณะให้อาหารควรสวมเสือผ้าที่รัดกุมสวมถุงมือ,รองเท้าบู๊ตขณะอยู่กับหมู การป้องกันโรคไข้หูดับสามารถทำได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่กินหมูดิบหรือสุกๆ ดิบ ควรทำให้สุกก่อนบริโภคจะทำให้ปลอดภัย จากโรคไข้หูดับที่ระบาดอยู่ในพื้นที่พะเยาขณะนี้