โมเดลธุรกิจ ‘คิดนอกกรอบ’ จากสตาร์ทอัพอาหารเบลเยียม

นอกจาก ‘นวัตกรรม’ ที่เป็นหัวใจสำคัญของบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ซึ่งต้องการ ‘บริโภคอย่างแตกต่าง’ ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านอาหารจากเบลเยียม ดูกันว่าเขาภายใต้โจทย์แบบนี้เขาทำธุรกิจกันอย่างไร
#FoodTech #bangkokbank #bangkokbanksme #sme

สำหรับเบลเยียม หลายท่านอาจนึกถึงช็อคโกแลตคุณภาพพรีเมียม แต่ทราบหรือไม่ว่า ประเทศเบลเยียม มีอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นรายได้หลักๆ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมอาหารเบลเยียม (Fevia) รายงานมูลค่าตลาดส่งออกอาหารและเครื่องดื่มของเบลเยียมในปี 2562 สูงถึง 27 พันล้านยูโร (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) และมีแนวโน้มที่จะขยายตัว 2.5% ประเภทของสินค้าอาหารส่งออกหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ เครื่องดื่ม ผักและผลไม้ ธัญพืช โกโก้และสินค้าแปรรูป

ที่สำคัญมีธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอาหารที่น่าสนใจมากมาย ในปี 2561 เบลเยียมมีบริษัทตั้งใหม่กว่า 100,000 บริษัท ซึ่งเป็นการทำลายสถิติของปีก่อนๆ โดยประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยมมาก คือ “สตาร์ทอัพด้านอาหาร” เนื่องจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่มองว่าธุรกิจอาหารสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้เช่นเดียวกับธุรกิจแฟชั่น โดยการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกซื้อวัตถุดิบจากท้องถิ่น และการสร้างธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

นอกจาก “นวัตกรรม” ที่เป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้บริษัทสตาร์ทอัพแล้ว พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคซึ่งต้องการ “บริโภคอย่างแตกต่าง” ก็เป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพ เห็นได้จาก megatrend เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารปลอดสารพิษ อาหารวีแกน อาหารพื้นถิ่น/ตามฤดูกาล และอาหารที่ไม่สร้างขยะต่อโลก (zero-waste) ทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เอื้อต่อการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพด้านอาหาร ได้แก่

  1. ผู้ผลิตรายใหญ่เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับสตาร์ทอัพ เนื่องจากบริษัทขนาดเล็กมีความยืดหยุ่นด้านห่วงโซ่อุปทาน จึงสามารถตอบโจทย์เทรนด์การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้ โดยบริษัทใหญ่ๆ ในเบลเยียม อาทิCarrefour Delhaize และColruyt ก็ล้วนมีข้อตกลงทางธุรกิจกับหลายธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว
  2. ลักษณะนิสัยของชาวเบลเยียมที่นิยมเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  3. ชาวเบลเยียมรุ่นใหม่ต้องการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองเพิ่มมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มของตลาดและลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อาจเป็นองค์ประกอบที่ร่วมส่งเสริมให้เบลเยียมเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพด้านอาหาร

สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจศึกษาโมเดลธุรกิจเหล่านี้อาจนำไปต่อยอดได้ เพราะภาครัฐเองก็มีการนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง : The Brussels Times

: https://thaieurope.net/

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<

‘ซุปเปอร์ฟู้ดจากสาหร่าย’ คนเอเชียคุ้นเคย แต่ชาติตะวันตกยังเคลือบแคลง

‘สวนทุเรียนลุงแกละ’ การปรับใช้ Agritech ลดต้นทุน ลดเวลา เพิ่มมูลค่าผลผลิต

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ
คลิกหรือสายด่วน1333