กรีนพีซ เปิดตัวแพลตฟอร์มแก้วิกฤติทะเลไทย ช่วยผู้ใช้เลือกซื้ออาหารทะเลยั่งยืน

Juvenile Fish Platform Design

กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมเพื่ออาหารทะเลเพื่อความยั่งยืนและเป็นธรรม เปิดตัวแพลตฟอร์มสัตว์น้ำวัยอ่อนบนแอปพลิเคชั่น ไลน์ (LINE) ช่วยผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับทะเล และมีส่วนร่วมในการแก้วิกฤติทะเลและประมง โดยช่วยรายงานการจาหน่ายสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด

 

เมื่อปี 2550 ประมงไทย เคยจับปลาน้ำเค็มได้ 2.08 ล้านตัน แต่ในปี 2561 ลดเหลือเพียงแค่ 1.39 ล้านตัน [1] โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2562 ปริมาณการจับสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ 1.20 ต่อปี [2] การลดลงของทรัพยากรประมงนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากประมงทำลายล้าง เช่น การใช้เครื่องปั่นไฟ หรือใช้ตาอวนที่เล็กกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้สัตว์น้ำวัยอ่อนถูกกวาดขึ้นจากทะเล ซึ่งเป็นการตัดวงจรขยายพันธุ์ การลดลงของสัตว์น้ำวัยอ่อนทำให้สมดุลระบบนิเวศในทะเลเปลี่ยนไป ซ้ำยังทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล

เมื่อถูกจับขึ้นมาแล้ว กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบใช้ในการขายสัตว์น้ำวัยอ่อนเหล่านี้ คือการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์จากลูกปลาใหม่ในชื่อที่ต่างออกไป เช่น ลูกปลาทู ถูกเรียกเป็นปลาทูแก้ว ลูกปลากะตัก เป็นปลาสายไหม ปลาข้าวสาร ปลาจิ้งจั้ง หรือปลาฉิ้งฉ้าง หลายคนจึงบริโภคไปโดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วคือลูกปลาที่ยังโตไม่เต็มที่

เมื่อปลาทะเลลดลงเรื่อยๆ แต่มาตรการจัดการยังล่าช้า แพลตฟอร์มสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือ Juvenile Fish 2022 จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้วิกฤติทะเลนี้ โดยผู้ใช้สามารถตรวจสอบขนาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยอดนิยม 9 ชนิด ได้แก่ ปลาทู ปลากะตัก ปลากระบอกดา ปูม้า ปูดา หมึกกล้วย หมึกหอม กุ้งแชบ๊วย และปลากะพงขาว เพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน เพราะเมื่อความต้องการบริโภคสัตว์น้ำวัยอ่อนน้อยลง ห้างร้านก็จะหยุดรับซื้อสินค้ามาขาย คนจับก็จะเลิกจับตามหลักอุปสงค์อุปทาน

นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถร่วมกันรายงานการขายสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ไม่ได้ขนาด โดยการอัพโหลดรูปภาพและสถานที่ที่พบ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวมและนำไปรณรงค์เพื่อปกป้องท้องทะเลไทยต่อไป

สามารถเข้าใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยการแอดไลน์ @juvenilefish2022 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย