ขับเคลื่อนโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีขับเคลื่อนโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรร่วมกับกลุ่มแปลงใหญ่ต้นแบบกลุ่มผู้ผลิตข้าวนาแปลงใหญ่หัวสำโรง (ประชารัฐ)

สำนักงานเกษตรอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยนายอาณัติ ภัทราวุธสมบูรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบงานหยุดเผาระดับอำเภอ ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผ่านการจัดเวทีชุมชน ครั้งที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์และศักยภาพชุมชน  เพื่อกำหนดแนวทางการจัดการเพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เหมาะสมตามบริบทของชุมชน และวางแผนดำเนินการ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 โดยคัดเลือกสมาชิกแปลงใหญ่กลุ่มผู้ผลิตข้าวนาแปลงใหญ่หัวสำโรง (ประชารัฐ) รวมจำนวน ๔๐ ราย เข้าร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน

ศักยภาพ จุดเด่น ปัญหา ความรู้ ที่ต้องการในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่การเกษตรประมาณ 148 ล้านไร่ ซึ่งหลังจากฤดูการผลิตจะเกิดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปเกษตรกรเมื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร หรือภายหลังเก็บเกี่ยวแล้ว มักจะเผาทำลายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กล่าวคือ ในพื้นที่ทำนา ที่พบปัญหามากในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ คือ การเผาตอซังฟางข้าวเพื่อความสะดวกในการไถเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูกในรอบถัดไป

หลังจากการนำเสนอผลการทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ปี 2565 เรื่อง การเปรียบเทียบการไถกลบตอซังและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ กข 79 ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี มีข้อมูลดังนี้

สรุปผลการทดลอง

– กรรมวิธีไถกลบตอซังส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 53.7 กิโลกรัม เกษตรกรมีกำไรเพิ่มขึ้น 456 บาท กรณีที่ช่วงเก็บเกี่ยวราคากิโลกรัมละ 8.5 บาท

– กรณีที่เกษตรกรต้องการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งในการทดลองนี้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอินทรียวัตถุรับรองร้อยละ 20 อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่นั้น ถึงแม้ว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 86.5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีดั้งเดิมของเกษตรกรนั้น แต่เมื่อคิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์แล้ว พบว่า มีกำไรน้อยกว่ากรรมวิธีดั้งเดิมของเกษตรกร 265 บาท

– การใช้ปุ๋ยสั่งตัดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 200 กิโลกรัมต่อไร่ และการไถกลบตอซัง เป็นกรรมวิธีที่มีผลผลิตสูงสุด คือ 1,034 กิโลกรัม และมีกำไรเพิ่มขึ้น 489 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีดั้งเดิม รองลงมาคือ การใช้ปุ๋ยสั่งตัดร่วมกับการไถกลบตอซัง ซึ่งมีค่าส่วนต่างกำไร  ในแง่ของปัจจัยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพียง 33 บาท

หลังจากที่ทราบข้อมูลจากการวิจัยเชิงพื้นที่แล้วนั้น สมาชิกกลุ่มฯ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีพื้นที่นาลุ่มน้ำขัง ไม่สามารถอัดฟางได้ ให้ความสนใจและมั่นใจที่จะไถกลบตอซังหลังปลูก โดยจะไถกลบฟางและตอซังหลังเก็บเกี่ยวภายใน 7 วัน ส่วนในรายที่ขายฟางได้นั้น เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวจึงตัดสินใจไถกลบฟางและตอซังหลังเก็บเกี่ยวภายใน 7 วันแทนการขายฟางให้ผู้ซื้อฟาง เพื่ออัดฟางขาย และเพื่อป้องกันปัญหาการย่อยสลายไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่ต่อให้เกิดอาการเมาตอซังในข้าวรุ่นต่อไปได้ สมาชิกกลุ่มฯ ต้องการให้สนับสนุนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ เพื่อฉีดพ่น/ราดลงดิน หลังจากไถกลบตอซัง

ในที่ประชุมเวทีชุมชนครั้งนี้ สรุปว่า มีความต้องการให้สนับสนุนกากน้ำตาลในการทำน้ำหมักชีวาพ ซุปเปอร์ พด. 2 เนื่องจากวัตถุดิบเศษผักและผลไม้ พร้อมถังหมักได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เรียนรู้กสิกรรม  ไร้สารพิษละโว้ธานี ซึ่งสอดคล้องกับเกษตรกรสมาชิกกลุ่มน เกิดการยอมรับการไถกลบตอซัง โดยแก้ปัญหา รอหมักฟาง เป็นเวลานานไม่ได้เพราะแปลงใกล้เคียงเร่งทำนาและต้องใช้น้ำต่อเนื่องกัน โดยวิธีการไถกลบฟางและตอซังหลังเก็บเกี่ยวภายใน 7 วันแทนการขายฟางให้ผู้ซื้อฟาง เพื่ออัดฟางขาย และเพื่อป้องกันปัญหา

การย่อยสลายไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่ต่อให้เกิดอาการเมาตอซังในข้าวรุ่นต่อไปได้ สมาชิกกลุ่มฯ ต้องการให้สนับสนุนการผลิตน้ำหมักชีวภาพ เพื่อฉีดพ่น/ราดลงดิน หลังจากไถกลบตอซัง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประหยัดปุ๋ยลงเพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงขึ้น และผลผลิตสูง และมีกำไรเพิ่มมากขึ้นตามข้อมูลแปลงเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น